ลูกน้อยปลอดภัย เลือกใช้แป้งเด็กอย่างถูกต้อง

แป้งเด็กเป็นหนึ่งในของชิ้นแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เลือกซื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าใครเวลาคิดถึงทารกตัวอ้วนจ้ำม่ำก็ต้องนึกถึงตอนอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ประแป้งฝุ่นหอมฟุ้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าแป้งเด็กที่คุณพ่อคุณแม่กำลังใช้อยู่นั้นอาจไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อย   ในปัจจุบัน นอกจากความร้อน ความอับชื้น และเชื้อโรคใหม่ ๆ สารพัดชนิดที่ทำอันตรายต่อผิวบอบบางของเด็กแล้ว ยังมีฝุ่นและมลภาวะในอากาศที่พร้อมสร้างความเสียหายต่อปอดและทางเดินหายใจของทารก แน่นอนว่าเรื่องนี้สร้างความกังวลต่อทั้งผู้ปกครองและกุมารแพทย์จำนวนมาก สาเหตุหนึ่งของฝุ่นที่ใกล้ตัวลูกน้อยก็คือแป้งเด็กนั่นเอง   จากกรณีการปนเปื้อนของแร่ใยหินซึ่งเป็นสารอันตรายที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีการทำเหมืองทัลคัมลงไปในแป้งเด็กและเครื่องสำอางหลายชนิด ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องสารสังเคราะห์ที่เป็นวัตถุดิบการผลิตแป้งและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเป็นอย่างมาก   นอกจากแร่ใยหินจะถูกคัดกรองออกจากแป้งเด็กอย่างเข้มงวดแล้ว สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกายังแนะนำให้เลิกใช้แป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลค์หรือทัลคัมซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนแร่ใยหินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากพบว่าแม้กระทั่งทัลค์บริสุทธิ์ก็ตกค้างในทางเดินหายใจของเด็กและสร้างความระคายเคือง นำไปสู่ภาวะหลอดลมไวเกินและโรคทางเดินหายใจหลายชนิดหากสะสมเป็นเวลานาน หลักฐานงานวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แป้งเด็กที่มีส่วนประกอบของทัลค์ในบริเวณผ้าอ้อมกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่คำสั่งให้เก็บแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์และทัลคัมออกจากร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา   แล้วแป้งเด็กแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก? สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้แป้งที่มีส่วนผสมจากพืช เช่น แป้งจากข้าว...

E-Magazine New Parents 2023/2024

สารพันเรื่องน่ารู้ คู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ เพื่อลูกน้อยแข็งแรง ปลอดภัย New Parents 6th Edition 2023/2024 เริ่มต้นด้วยรัก ใส่ใจทุกการดูแล ก้าวแรกของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ สร้างเสริมสุขภาพลูกน้อยให้แข็งแรง อ่านเคล็ดลับการสุขภาพจากบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทาง Facebook Page: HealthToday Thailand และ NewParents Thailand

วัคซีนรวมสำหรับลูกน้อย เจ็บน้อย ช่วยป้องกันโรคร้าย

ในปี พ.ศ. 2566 นี้ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ตารางแนะนำการให้วัคซีนในเด็กไทย แบ่งเป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องให้แก่เด็กทุกคน และวัคซีนทางเลือกที่อาจให้เสริมหรือทดแทน มีคำแนะนำให้วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-โปลิโอชนิดฉีด-ฮิบ เป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือก โดยฉีดได้ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน1   วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์คืออะไร? ปัจจุบันวัคซีนไอกรนในประเทศไทยมีทั้งชนิดไร้เซลล์ (acellular) และชนิดทั้งเซลล์ (whole cell) โดยวัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์มักทำให้เกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีอาการบวม แดง ไข้ และหนาวสั่นร่วมด้วย จึงมีการพัฒนาวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำจากบางส่วนของเชื้อแบคทีเรียเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไม่ต่างกัน2 สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำว่า...