Disease
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง IBD คืออะไร?
โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง IBD คือกลุ่มโรคที่มีการอักเสบของทางเดินอาหาร มักจะพบมากในช่วงอายุระหว่าง 15- 40 ปี ซึ่งจำแนกได้เป็น 2 โรค คือ
โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative Colitis, UC) เกิดการอักเสบเรื้อรังบริเวณลำไส้ใหญ่เป็นหลัก การอักเสบอาจทำให้ลำไส้เป็นแผล แต่จะลุกลามเฉพาะเนื้อเยื่อชั้นตื้น ๆ เช่น ชั้นเยื่อบุลำไส้ (Mucosa) โดยการอักเสบเริ่มจากทวารหนักย้อนขึ้นไป อาจจะลุกลามสูงขึ้นไปเท่าใดก็ได้แล้วแต่ความรุนแรงของโรค พบได้เท่า ๆ กันทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
โรคโครห์น (Crohn’s disease, CD) เป็นโรคที่พบการอักเสบเรื้อรังได้ในทุกส่วนของระบบทางเดินอาหาร...
เสียงเตือนจากหัวใจ..สัญญาณของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ
มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจเป็นโรคที่พบได้ยากมาก มีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 0.1 ต่อประชากร 1 ล้านคน ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่อยู่แค่ 5–7 คนต่อปี ผู้ป่วยจะมีอาการอาจคล้ายโรคหัวใจร่วมกับโรคมะเร็ง เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก บางครั้งอาจเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้หัวใจวายหรือมีอาการทางปอดได้ และหากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ จะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แพทย์จึงเน้นการรักษาด้วยวิธี
✒️ผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษาเพื่อเอาเนื้องอกออก
✒️กรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ จะรักษาด้วย รังสีรักษา หรือ เคมีบำบัด
✒️หากลุกลามแล้ว อาจเน้นที่การประคับประคองอาการ
แม้ว่ามะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจจะเป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสาเหตุยังไม่ชัดเจน แต่การดูแลสุขภาพหัวใจอย่างดี เช่น...
โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) พบบ่อยในคนเอเชีย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือการได้ยิน
โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในหลายอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดวงตา ผิวหนัง หู และระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอวัยวะที่มีเม็ดสีเมลานิน เป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ม่านตาอักเสบ ตามัว จนนำปสู่การสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพ
โรค VKH พบได้บ่อยในประเทศเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีผิวสีเข้ม เนื่องจากมีปริมาณเม็ดสีเมลานินในร่างกายสูงกว่าคนผิวขาว ทั้งนี้สาเหตุที่แน่ชัดของโรค VKH ยังไม่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรค VKH ที่ได้ผลอย่างชัดเจน
โดยทั่วไปแล้ว โรค VKH ไม่ทำให้เสียชีวิต...
WHO ประกาศให้ ฝีดาษลิง (Mpox) กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง (14 สิงหาคม 2567)
“WHO ประกาศให้ Mpox กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง” (14 สิงหาคม 2567)
ฝีดาษลิง คือ โรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส monkeypox (Mpox) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ (Orthopoxvirus) Mpox จำแนกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ clade I และ clade II ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ Mpox สายพันธุ์ clade Ib แล้ว...
สัญญาณเตือน โรคหลอดเลือดสมอง ฉุกเฉินทุกวินาที!
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อัมพฤกษ์" เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองตาย เกิดอาการอัมพาต แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มองเห็นไม่ชัด หรือสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก
❗สัญญาณเตือนฉุกเฉินของโรคหลอดเลือดสมอง
หน้าชา ปากเบี้ยว ตาตกข้างเดียว
แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ยกหรือกำไม่ขึ้น
พูดไม่ชัด พูดลำบาก
เดินเซ มึนงง เวียนหัว
มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว
ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ...
พาร์กินสัน: ชีวิตยังมีสีสัน แม้ต้องเผชิญโรค
แม้แต่นักมวยระดับโลกอย่าง มูฮัมหมัด อาลี ก็เคยป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน คือโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
คนไทยป่วยเป็น “โรคพาร์กินสัน” มากขึ้น แถมอายุยังน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะถ่ายทอด “ทางพันธุกรรม” ได้
โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้ผลิตโดพามีนลดลง จนส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ (>50 ปี)
อาการที่พบ: กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าลง เสียการทรงตัว ท่าเดินผิดปกติ เสียงพูดเบาลง ท้องผูก ปัญหาของระบบย่อยอาหาร
อาการทางจิต:...
รู้หรือไม่? สุขภาพช่องปากของแม่ส่งผลต่อน้ำหนักลูกน้อย
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเหงือกและฟัน อาจมีเชื้อโรคเข้ากระแสเลือดไปกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักน้อยกว่าทารกทั่วไป จึงอยากชวนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มาดูแลสุขภาพช่องปากกันเถอะ
🪥 แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
🦷 ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน
⚕️ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
🥗 ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้
เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูก
#สุขภาพช่องปาก #หญิงตั้งครรภ์ #ทารก #แม่และเด็ก
New Parents Magazine เล่มใหม่ล่าสุด❗6th Edition 2023/2024
สารพันเรื่องน่ารู้ คู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ 👨👩👧
เพื่อลูกน้อยแข็งแรง ปลอดภัย
📕📩 อ่านและดาวน์โหลด E-Magazine ฟรี! ได้ที่ https://bit.ly/NewParents2023-2024
เอกสารอ้างอิง
...
Tuberculosis as a Sleeper Agent วัณโรค-ภัยร้ายที่รอวันปลุก!
รู้ไหมว่า เชื้อวัณโรคอยู่ภายในร่างกายได้นานนับสิบปีโดยไม่แสดงอาการ!
ประเทศไทยมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 10,000 คนต่อปี!
วัณโรค (tuberculosis; TB) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส มักพบที่ปอด แต่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้
โดยโรคนี้จะแพร่ผ่านทางอากาศ จากการไอ จาม หรือพูดของผู้ป่วยวัณโรค, สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน, อาศัยอยู่ในสถานที่แออัด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก สังเกตได้จากมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์, ไอมีเลือดปน, เหนื่อยง่าย, น้ำหนักลด, เบื่ออาหาร และเหงื่อออกตอนกลางคืน
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อจะมีอาการป่วยเสมอ บางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันกำจัดไม่หมด...
เข้าใจดาวน์ซินโดรม: ป้องกัน ดูแล สู่สังคมที่ยอมรับ
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์ของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาทั้งแท่งหรือบางส่วน ส่งผลต่อพัฒนาการและลักษณะทางกายภาพ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่การดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรมอยู่หลายประการ เนื่องในวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก จึงอยากส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยดังนี้
ดาวน์ซินโดรมไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
ผู้ป่วยจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญญาอ่อน เพียงแต่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม
ถึงจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีความคล้ายคลึงเหมือนคนในครอบครัว เช่นเดียวกับคนทั่วไป
ผู้ป่วยสามารถเรียนหนังสือ ทำงาน ใช้ชีวิตในสังคม และมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองก่อนคลอด จะช่วยให้ทราบความเสี่ยงของทารกในครรภ์ โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกคนสามารถรับบริการตรวจดาวน์ซินโดรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย...
ดูแลลูกน้อยอย่างไรในช่วงปลายฝนต้นหนาว
สภาพอากาศ ณ ปัจจุบัน ทั้งพายุเข้า ฝนตก และใกล้ฤดูหนาวเข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้ลูกน้อยไม่สบาย และเป็นหวัดง่าย โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว เช่น โรคจมูกอักเสบ (acute rhinitis) หรือที่มักเรียกว่า "โรคหวัด" ทำให้ลูกน้อยมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหรือมึนศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล (ใส ขุ่น หรือเหลืองเขียว) รวมถึงไอ
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ rhinovirus, infuenza,...