แม้แต่นักมวยระดับโลกอย่าง มูฮัมหมัด อาลี ก็เคยป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน คือโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
คนไทยป่วยเป็น “โรคพาร์กินสัน” มากขึ้น แถมอายุยังน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะถ่ายทอด “ทางพันธุกรรม” ได้
โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้ผลิตโดพามีนลดลง จนส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ (>50 ปี)
- อาการที่พบ: กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าลง เสียการทรงตัว ท่าเดินผิดปกติ เสียงพูดเบาลง ท้องผูก ปัญหาของระบบย่อยอาหาร
- อาการทางจิต: ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ
ปัจจุบัน มีคนไทยป่วยเป็นโรคพาร์กินสันไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนคน ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าคนอายุน้อยป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น ทั้งจาก
- การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรมสูงขึ้น
โดยผู้ป่วยอายุน้อยมักไม่มีอาการสั่น บางรายรู้สึกว่าร่างกายเคลื่อนไหวไม่ดีเหมือนปกติ หรือปวดแขนปวดขา ต้องไปพบแพทย์ถึงได้รู้ว่าป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน
เพราะฉะนั้น ถึงโรคนี้จะรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่เมื่อมีสัญญาณเตือน เช่น มือสั่น แขนเกร็ง ก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัย ป้องกัน และรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น ยา กายภาพบำบัด และการผ่าตัด เพื่อไม่ให้โรคลุกลาม ไม่ลำบาก ต่อการใช้ชีวิต และมีความสุขได้
การเข้าใจโรคพาร์กินสัน ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข
ร่วมสร้างสังคมที่เอื้อเฟื้อต่อผู้ป่วยโรคนี้
เอกสารอ้างอิง
- สมาคมโรคพาร์กินสันและภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติแห่งประเทศไทย: https://www.facebook.com/ThaiPDMDS/
- โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2013/parkinson-disease
- 5 กลุ่มเสี่ยง-สัญญาณ“พาร์กินสัน” โรคทางสมองอันดับ 2 รองจากอัลไซเมอร์: https://www.pptvhd36.com/health/care/2716