LATEST ARTICLES

เสียงเตือนจากหัวใจ..สัญญาณของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ

มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจเป็นโรคที่พบได้ยากมาก มีอัตราการเกิดโรคอยู่ที่ 0.1 ต่อประชากร 1 ล้านคน ในประเทศไทยมีผู้ป่วยรายใหม่อยู่แค่ 5–7 คนต่อปี ผู้ป่วยจะมีอาการอาจคล้ายโรคหัวใจร่วมกับโรคมะเร็ง เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก บางครั้งอาจเกิดลิ่มเลือดที่ทำให้หัวใจวายหรือมีอาการทางปอดได้ และหากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ จะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดภายในหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แพทย์จึงเน้นการรักษาด้วยวิธี   ✒️ผ่าตัด เป็นวิธีหลักในการรักษาเพื่อเอาเนื้องอกออก  ✒️กรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ จะรักษาด้วย รังสีรักษา หรือ เคมีบำบัด  ✒️หากลุกลามแล้ว อาจเน้นที่การประคับประคองอาการ  แม้ว่ามะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจจะเป็นโรคที่ป้องกันได้ยาก เนื่องจากสาเหตุยังไม่ชัดเจน แต่การดูแลสุขภาพหัวใจอย่างดี เช่น...

โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) พบบ่อยในคนเอเชีย อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นหรือการได้ยิน

โรค Vogt-Koyanagi-Harada (VKH) เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นในหลายอวัยวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดวงตา ผิวหนัง หู และระบบประสาทส่วนกลางซึ่งอวัยวะที่มีเม็ดสีเมลานิน เป็นส่วนประกอบสำคัญ เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะมีอาการหูอื้อ ปวดศีรษะ ม่านตาอักเสบ ตามัว จนนำปสู่การสูญเสียการมองเห็นตรงกลางภาพ  โรค VKH พบได้บ่อยในประเทศเอเชีย รวมถึงประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีผิวสีเข้ม เนื่องจากมีปริมาณเม็ดสีเมลานินในร่างกายสูงกว่าคนผิวขาว ทั้งนี้สาเหตุที่แน่ชัดของโรค VKH ยังไม่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันโรค VKH ที่ได้ผลอย่างชัดเจน  โดยทั่วไปแล้ว โรค VKH ไม่ทำให้เสียชีวิต...

WHO ประกาศให้ ฝีดาษลิง (Mpox) กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง (14 สิงหาคม 2567)

“WHO ประกาศให้ Mpox กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง” (14 สิงหาคม 2567) ฝีดาษลิง คือ โรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส monkeypox (Mpox) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ (Orthopoxvirus) Mpox จำแนกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ clade I และ clade II ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ Mpox สายพันธุ์ clade Ib แล้ว...

กินเร็ว รีบกลืน สุขภาพพัง!

กินเร็ว รีบกลืน สุขภาพพัง! ❌ เคี้ยวไม่ละเอียด ย่อยไม่ทัน ร่างกายดูดซึมสารอาหารไม่ครบ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเพียบ การกินอาหารอย่างเร่งรีบอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แม้จะเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าย่อยไม่ดี ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปสร้างเลือดได้เต็มที่ ทำให้เกิดของเสียสะสมในระบบเลือดได้ การกินเร็วหมายถึงการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เคี้ยวแค่ไม่กี่ครั้งแล้วกลืนลงไปทันที ส่งผลให้ร่างกายได้รับปริมาณอาหารมากเกินความต้องการและทำให้อาหารยังมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการย่อย นำไปสู่การย่อยที่ใช้เวลานานขึ้นและอาจเกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด หรือจุกเสียดตามมาได้ ลองใช้เวลากินอาหารอย่างมีสติ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและไม่เร่งรีบ เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ!