5 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนเลือกโพรไบโอติกให้ลูกน้อย

บทความโดย พญ.สุชีรา หงษ์สกุล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ

0
1274

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพ เริ่มได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ก่อนที่เราจะเลือกโพรไบโอติกให้ลูกน้อยรับประทานนั้น เราควรต้องศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะเลือกได้เหมาะสม ให้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ และปลอดภัยสำหรับลูกน้อย ดังนั้นจึงได้รวบรวม 5 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเลือกโพรไบโอติกให้ลูกน้อย

    1. โพรไบโอติก หรือจุลินทรีย์สุขภาพ ต้องเลือกที่ยังมีชีวิต และรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมเพียงพอ จึงจะให้ผลดีต่อสุขภาพ ที่สำคัญต้องมีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์หรือการแพทย์เพื่อยืนยันถึงประโยชน์ จึงจะจัดว่าเป็นโพรไบโอติก
    2. ต้องเลือกสายพันธุ์ที่มีการศึกษารองรับถึงประโยชน์ และคุณสมบัติตามการศึกษาในมนุษย์ เพราะคุณสมบัติหรือกลไกการออกฤทธิ์บางอย่างจะจำเพาะกับสายพันธุ์นั้น ๆ เท่านั้น หากเรารับประทานสายพันธุ์อื่นอาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการได้1
    3. ธรรมชาติออกแบบให้ทารกน้อยได้จุลิทรีย์กลุ่มแรก ๆ จากการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ แต่เนื่องจากเหตุจำเป็นทำให้หลายคนต้องเลือกวิธีผ่าคลอดแทน ทำให้เสียโอกาสได้รับจุลินทรีย์ดี ๆ2 มีการศึกษายืนยันว่าทารกที่คลอดด้วยการผ่าคลอดจะมีปริมาณจุลิทรีย์แล็กโทบาซิลลัสต่ำกว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ3 และยังพบว่าทารกที่ผ่าคลอดมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคภูมิแพ้ โรดหืด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคอ้วน ได้มากกว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ2
    4. มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 ช่วยฟื้นฟูทำให้ทารกที่คลอดด้วยวิธีผ่าคลอดกลับมามีจุลินทรีย์สมดุลใกล้เคียงกับทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติได้4
    5. โพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 มีต้นกําเนิดมาจากสายพันธุ์ที่ได้รับจากนํ้านมแม่ของหญิงชาวเปรู ถือเป็นโพรไบโอติกหนึ่งในสายพันธุ์ที่น่าจะมีการศึกษาจํานวนมากยืนยันประสิทธิภาพ5 ตัวอย่างเช่น ในการป้องกันการเกิดภาวะโคลิค สำรอกนม และเพิ่มการขับถ่ายให้ทารกน้อยได้ โดยเปรียบเทียบกับการรับประทานยาหลอกเป็นระยะเวลา 3 เดือน พบว่า ทารกที่รับประทานโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM179386
          • ร้องกวน ลดลง 47%*
          • การสำรอกนม ลดลง 37%*
          • การขับถ่าย เพิ่มขึ้น 17%*

* ผลการศึกษาที่ 3 เดือนหลังรับประทานโพรไบโอติกแล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับประทานยาหลอก แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)6

สมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารนานาชาติ มีข้อมูลว่าการให้ทารกรับประทานโพรไบโอติกสายพันธุ์เฉพาะ แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี DSM17938 ลดภาวะการร้องกวนโคลิคในทารกได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Guarner F, Ellen Sanders M,  Eliakim R, Fedorak R,  Gangl A, Garisch J, Kaufmann P. Karakan T. World gastroenterology organisation global guidelines: probiotics and prebiotics February 2017: 1-35.
  2. Rodríguez JM, Murphy K, Stanton C, Ross RP, Kober OI, Juge N, Avershina E, Rudi K, Narbad A, Jenmalm MC, Marchesi JR. The composition of the gut microbiota throughout life, with an emphasis on early life. Microbial ecology in health and disease. 2015 Dec 1;26(1):26050.
  3. Reid G, Younes JA, Van der Mei HC, Gloor GB, Knight R, Busscher HJ. Microbiota restoration: natural and supplemented recovery of human microbial communities. Nature Reviews Microbiology. 2011 Jan;9(1):27-38.
  4. Rodenas CL, Lepage M, Ngom-Bru C, Fotiou A, Papagaroufalis K, Berger B. Effect of formula containing Lactobacillus reuteri DSM 17938 on fecal microbiota of infants born by cesarean-section. Journal of pediatric gastroenterology and nutrition. 2016 Dec 1;63(6):681-7.
  5. Srinivasan R, Kesavelu D, Veligandla KC, Muni SK, Mehta SC. Lactobacillus reuteri DSM 17938: review of evidence in functional gastrointestinal disorders. Pediatr Ther. 2018;8(350):2161-0665.
  6. Indrio F, Di Mauro A, Riezzo G, Civardi E, Intini C, Corvaglia L, Ballardini E, Bisceglia M, Cinquetti M, Brazzoduro E, Del Vecchio A. Prophylactic use of a probiotic in the prevention of colic, regurgitation, and functional constipation: a randomized clinical trial. JAMA pediatrics. 2014 Mar 1;168(3):228-33.