“WHO ประกาศให้ Mpox กลายเป็นภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศอีกครั้ง” (14 สิงหาคม 2567)
ฝีดาษลิง คือ โรคติดต่อที่เกิดจากไวรัส monkeypox (Mpox) ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับไวรัสโรคฝีดาษหรือโรคไข้ทรพิษ (Orthopoxvirus) Mpox จำแนกได้เป็น 2 สายพันธุ์ คือ clade I และ clade II ปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อ Mpox สายพันธุ์ clade Ib แล้ว 1 ราย (กรมควบคุมโรค, 22 สิงหาคม 2567)
ฝีดาษลิง มักแสดงอาการภายใน 1–21 วันหลังได้รับเชื้อ โดยอาการแสดงทั่วไป...
โรคหลอดเลือดสมอง หรือที่รู้จักกันในชื่อ "อัมพฤกษ์" เกิดจากการที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว ส่งผลให้เนื้อเยื่อสมองตาย เกิดอาการอัมพาต แขนขาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มองเห็นไม่ชัด หรือสูญเสียการรับรู้ความรู้สึก
❗สัญญาณเตือนฉุกเฉินของโรคหลอดเลือดสมอง
หน้าชา ปากเบี้ยว ตาตกข้างเดียว
แขนขาข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรง ยกหรือกำไม่ขึ้น
พูดไม่ชัด พูดลำบาก
เดินเซ มึนงง เวียนหัว
มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว
ปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ อ้วน รวมถึงขาดการออกกำลังกาย
เพราะฉะนั้น หากควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด เลิกสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์แต่พอดี (หรือไม่ดื่มได้ก็จะดีมาก) รักษาน้ำหนักให้สมดุล...
แม้แต่นักมวยระดับโลกอย่าง มูฮัมหมัด อาลี ก็เคยป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน คือโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
คนไทยป่วยเป็น “โรคพาร์กินสัน” มากขึ้น แถมอายุยังน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะถ่ายทอด “ทางพันธุกรรม” ได้
โรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ทำให้ผลิตโดพามีนลดลง จนส่งผลให้การเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ (>50 ปี)
อาการที่พบ: กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง เคลื่อนไหวช้าลง เสียการทรงตัว ท่าเดินผิดปกติ เสียงพูดเบาลง ท้องผูก ปัญหาของระบบย่อยอาหาร
อาการทางจิต: ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ
ปัจจุบัน มีคนไทยป่วยเป็นโรคพาร์กินสันไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนคน ยิ่งไปกว่านั้น ยังพบว่าคนอายุน้อยป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้น ทั้งจาก
การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
...
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเหงือกและฟัน อาจมีเชื้อโรคเข้ากระแสเลือดไปกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักน้อยกว่าทารกทั่วไป จึงอยากชวนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มาดูแลสุขภาพช่องปากกันเถอะ
🪥 แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
🦷 ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน
⚕️ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ
🥗 ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้
เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูก
#สุขภาพช่องปาก #หญิงตั้งครรภ์ #ทารก #แม่และเด็ก
New Parents Magazine เล่มใหม่ล่าสุด❗6th Edition 2023/2024
สารพันเรื่องน่ารู้ คู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ 👨👩👧
เพื่อลูกน้อยแข็งแรง ปลอดภัย
📕📩 อ่านและดาวน์โหลด E-Magazine ฟรี! ได้ที่ https://bit.ly/NewParents2023-2024
เอกสารอ้างอิง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/210365-2/
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.youtube.com/watch?v=gbARYnOACGE
รู้ไหมว่า เชื้อวัณโรคอยู่ภายในร่างกายได้นานนับสิบปีโดยไม่แสดงอาการ!
ประเทศไทยมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากวัณโรคกว่า 10,000 คนต่อปี!
วัณโรค (tuberculosis; TB) เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส มักพบที่ปอด แต่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้
โดยโรคนี้จะแพร่ผ่านทางอากาศ จากการไอ จาม หรือพูดของผู้ป่วยวัณโรค, สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเป็นเวลานาน, อาศัยอยู่ในสถานที่แออัด หรืออากาศถ่ายเทไม่สะดวก สังเกตได้จากมีอาการไอเรื้อรังนานกว่า 2 สัปดาห์, ไอมีเลือดปน, เหนื่อยง่าย, น้ำหนักลด, เบื่ออาหาร และเหงื่อออกตอนกลางคืน
เมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่ติดเชื้อจะมีอาการป่วยเสมอ บางกรณีที่ระบบภูมิคุ้มกันกำจัดไม่หมด ก็จะทำให้เกิดภาวะติดเชื้อวัณโรคแฝง (latent TB infection) ซึ่งเชื้ออาจจะยังไม่แสดงอาการอยู่นานเป็นปี จนถึงสิบปี แต่กลับมาเป็นวัณโรคชนิดมีอาการได้อีกครั้งหากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เนื่องจากการเจ็บป่วย อายุที่มากขึ้น หรือปัจจัยอื่น...
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์ของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาทั้งแท่งหรือบางส่วน ส่งผลต่อพัฒนาการและลักษณะทางกายภาพ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่การดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี
ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรมอยู่หลายประการ เนื่องในวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก จึงอยากส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยดังนี้
ดาวน์ซินโดรมไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม
ผู้ป่วยจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญญาอ่อน เพียงแต่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม
ถึงจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีความคล้ายคลึงเหมือนคนในครอบครัว เช่นเดียวกับคนทั่วไป
ผู้ป่วยสามารถเรียนหนังสือ ทำงาน ใช้ชีวิตในสังคม และมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองก่อนคลอด จะช่วยให้ทราบความเสี่ยงของทารกในครรภ์ โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกคนสามารถรับบริการตรวจดาวน์ซินโดรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่ง
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สปสช.1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.
ร่วมสร้างสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับ และให้โอกาสผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม
#ดาวน์ซินโดรม #WorldDownSyndromeDay #inclusion #acceptance...
สภาพอากาศ ณ ปัจจุบัน ทั้งพายุเข้า ฝนตก และใกล้ฤดูหนาวเข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้ลูกน้อยไม่สบาย และเป็นหวัดง่าย โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว เช่น โรคจมูกอักเสบ (acute rhinitis) หรือที่มักเรียกว่า "โรคหวัด" ทำให้ลูกน้อยมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหรือมึนศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล (ใส ขุ่น หรือเหลืองเขียว) รวมถึงไอ
สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ rhinovirus, infuenza, parainfuenza และ adenovirus ซึ่งส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะหายได้เองภายใน 7–10 วัน โดยไม่ต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ หากคุณพ่อคุณแม่ช่วยดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม
การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ...
ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยพบมากถึงร้อยละ 0.5-3.2 ในเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่แรกเริ่ม ถึงแม้ว่าอาการท้องผูกในเด็กส่วนมากจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพทางกาย และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย แต่อาการท้องผูกสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านสังคม อารมณ์ และการเรียนได้ และหากเป็นเรื้อรังโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจทำให้การรักษายากขึ้นและเกิดผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว
ทางการแพทย์นิยามท้องผูกว่าเป็นอาการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ กล่าวคือ ถ่ายห่างมากหรือถ่ายยากผิดปกติเป็นเวลานานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็ก โดยอาการแสดงของท้องผูกในเด็กที่พบได้บ่อย เช่น ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนใหญ่ แข็ง หรือถ่ายอุจจาระแล้วเจ็บ อุจจาระเล็ดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีพฤติกรรมกลั้นอุจจาระ
การวินิจฉัยท้องผูกไร้โรคทางกายนั้น แพทย์จะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อหาสัญญาณเตือนก่อน หากการซักประวัติและตรวจร่างกายไม่พบสัญญาณเตือน แพทย์จึงจะให้การวินิจฉัยและพิจารณาให้การรักษาโดยสรุป
แนวทางในการรักษาหลักดังนี้
การใช้ยา
...
ผิวเด็กนั้นต่างจากผิวของผู้ใหญ่ เนื่องจากผิวหนังของเด็กตั้งแต่ทารกจนอายุราว 10 ปี จะยังมีผิวชั้นนอกบาง มีความชุ่มชื้นสูงแต่สูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายเช่นกัน เกราะป้องกันผิวของเด็ก ๆ อ่อนแอง่ายต่อการระคายเคืองจากสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ชื้นหรือแห้งเกินไป สารเคมีตกค้าง เส้นใยสังเคราะห์ในผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้า แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ และปัจจุบันยังมีเชื้อโรค แสงแดด และมลพิษที่พร้อมทำร้ายผิวของเด็ก ๆ ได้ตลอดเวลา
ปัญหาผื่นผิวหนังเป็นหนึ่งในอาการหลักที่ทำให้เด็ก ๆ ต้องพบกุมารแพทย์ ในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ปัญหาผิวหนังในเด็กกว่าครึ่งเกิดจากการติดเชื้อและการอักเสบของผิวชั้นนอก ซึ่งมักไม่ร้ายแรงและหายได้ด้วยการดูแลอย่างถูกต้อง อาทิเช่น การรักษาความสะอาดด้วยสารทำความสะอาดที่อ่อนโยน การเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมเกราะป้องกันผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเลือกใช้ยาทาภายนอกที่มีสารต้านการอักเสบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวของเด็กจะมีส่วนช่วยให้ผดผื่นหายเร็วขึ้น
แต่ในบางกรณี ผื่นผิวหนังอาจบ่งบอกถึงโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็ก ๆ มีผื่นผิวหนังร่วมกับจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย แสบร้อนหรือปวดบริเวณผื่นหรือตามข้อ มีไข้ ตาแดง อ่อนเพลีย กินได้น้อย...
แป้งเด็กเป็นหนึ่งในของชิ้นแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เลือกซื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าใครเวลาคิดถึงทารกตัวอ้วนจ้ำม่ำก็ต้องนึกถึงตอนอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ประแป้งฝุ่นหอมฟุ้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าแป้งเด็กที่คุณพ่อคุณแม่กำลังใช้อยู่นั้นอาจไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อย
ในปัจจุบัน นอกจากความร้อน ความอับชื้น และเชื้อโรคใหม่ ๆ สารพัดชนิดที่ทำอันตรายต่อผิวบอบบางของเด็กแล้ว ยังมีฝุ่นและมลภาวะในอากาศที่พร้อมสร้างความเสียหายต่อปอดและทางเดินหายใจของทารก แน่นอนว่าเรื่องนี้สร้างความกังวลต่อทั้งผู้ปกครองและกุมารแพทย์จำนวนมาก สาเหตุหนึ่งของฝุ่นที่ใกล้ตัวลูกน้อยก็คือแป้งเด็กนั่นเอง
จากกรณีการปนเปื้อนของแร่ใยหินซึ่งเป็นสารอันตรายที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีการทำเหมืองทัลคัมลงไปในแป้งเด็กและเครื่องสำอางหลายชนิด ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องสารสังเคราะห์ที่เป็นวัตถุดิบการผลิตแป้งและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเป็นอย่างมาก
นอกจากแร่ใยหินจะถูกคัดกรองออกจากแป้งเด็กอย่างเข้มงวดแล้ว สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกายังแนะนำให้เลิกใช้แป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลค์หรือทัลคัมซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนแร่ใยหินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากพบว่าแม้กระทั่งทัลค์บริสุทธิ์ก็ตกค้างในทางเดินหายใจของเด็กและสร้างความระคายเคือง นำไปสู่ภาวะหลอดลมไวเกินและโรคทางเดินหายใจหลายชนิดหากสะสมเป็นเวลานาน หลักฐานงานวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แป้งเด็กที่มีส่วนประกอบของทัลค์ในบริเวณผ้าอ้อมกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่คำสั่งให้เก็บแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์และทัลคัมออกจากร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา
แล้วแป้งเด็กแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก?
สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้แป้งที่มีส่วนผสมจากพืช เช่น แป้งจากข้าว เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายเองได้ ทั้งยังอ่อนโยนต่อผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังแนะนำวิธีทาแป้งเด็กอย่างถูกต้อง โดยโรยลงบนฝ่ามือของผู้ปกครองก่อนจะลูบเป็นชั้นบาง ๆ บนผิวเพื่อสร้างชั้นป้องกันความอับชื้นและกักเก็บความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิวเด็ก...