คนเรามีวิธีแก้เครียดที่หลากหลาย การจัดการความเครียดที่ดีเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงและช่วยป้องกันสุขภาพได้ ในทางกลับกัน หากเราเลือกวิธีจัดการความเครียดที่ไม่เหมาะสม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติดก็จะยิ่งบั่นทอนสุขภาพให้ยิ่งแย่ลงได้ ฉบับนี้ผู้เขียนจึงอยากหยิบยกกลยุทธ์การกินลดเครียดมาแนะนำ เพราะเชื่อว่า ผู้อ่านหลายคนน่าจะใช้วิธีนี้อยู่ และหลายคนก็คงจะกินลดเครียดจนน้ำหนักขึ้นมาแล้ว วิธีการกินลดเครียดที่ได้ผลดีจะเป็นอย่างไร?
เทคนิคกินลดเครียด
ขณะเครียดร่างกายจะมีน้ำตาลและไขมันไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้น ดังนั้นอาหารที่ดีต่อผู้ที่เครียดควรมีคาร์โบไฮเดรตและไขมันต่ำ ใยอาหารสูง ยิ่งถ้ามีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่
เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เลี่ยงน้ำตาล
อาหารที่เป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสามารถกระตุ้นสมองให้หลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งมีฤทธิ์ลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอะดรีนาลีน จึงทำให้รู้สึกสงบขึ้น ที่สำคัญคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนยังเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นอย่างช้า ๆ จึงช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วย แต่หากเราเลือกรับประทานขนมที่เต็มไปด้วยน้ำตาล เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน เค้ก ช็อกโกแล็ตหวาน ๆ ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดยิ่งสูง ขัดขวางการหลั่งสารเซโรโทนิน และนั่นก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน ทางเลือกที่ดีในการรับประทานคาร์โบไฮเดรตช่วงที่มีความเครียดคือ เลือกรับประทานข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ขนมปังธัญพืช หรือข้าวโอ๊ต...
กินเร็ว รีบกลืน สุขภาพพัง! ❌
เคี้ยวไม่ละเอียด ย่อยไม่ทัน ร่างกายดูดซึมสารอาหารไม่ครบ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเพียบ
การกินอาหารอย่างเร่งรีบอาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แม้จะเลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าย่อยไม่ดี ร่างกายก็ไม่สามารถดูดซึมสารอาหารไปสร้างเลือดได้เต็มที่ ทำให้เกิดของเสียสะสมในระบบเลือดได้
การกินเร็วหมายถึงการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด เคี้ยวแค่ไม่กี่ครั้งแล้วกลืนลงไปทันที ส่งผลให้ร่างกายได้รับปริมาณอาหารมากเกินความต้องการและทำให้อาหารยังมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการย่อย นำไปสู่การย่อยที่ใช้เวลานานขึ้นและอาจเกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด หรือจุกเสียดตามมาได้
ลองใช้เวลากินอาหารอย่างมีสติ เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและไม่เร่งรีบ เพื่อให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมสารอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
โพรไบโอติกส์ (Probiotics) หรือจุลินทรีย์สุขภาพ เริ่มได้รับความนิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่ก่อนที่เราจะเลือกโพรไบโอติกให้ลูกน้อยรับประทานนั้น เราควรต้องศึกษาข้อมูลเพื่อที่จะเลือกได้เหมาะสม ให้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ และปลอดภัยสำหรับลูกน้อย
ท้องผูก ถ่ายไม่ออก มักจะเป็นอาการที่เราพบกันบ่อย ๆ ในเด็ก เรามาเรียนรู้ 5 เรื่องน่ารู้สำหรับคุณแม่ เมื่อลูกน้อยท้องผูกกันค่ะ
การให้อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กในช่วงท้องร่วงเฉียบพลันจะช่วยส่งเสริมการซ่อมแซมและการเจริญเติบโต ช่วยให้เยื่อบุผิวลำไส้กลับมาทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารได้ดีโดยเร็ว
ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงช่วงที่เป็นทารก ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ๆ ต่อสุขภาพของลูกน้อยในอนาคต การได้รับสารอาหารและจุลินทรีย์อย่างเหมาะสมทั้งคุณแม่และทารก ล้วนเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมสุขภาพของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น
การใช้อาหารสำเร็จรูปมากขึ้น การรับประทานอาหารผักและผลไม้ลดน้อยลง ภาวะความรีบเร่งและความเครียดของเด็กเอง ทำให้ปัจจุปันเราพบเด็กมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม การขับถ่ายผิดปกติ ตลอดจนการเจ็บป่วยเนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ลดลงได้บ่อยขึ้น
อาหารมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย และพัฒนาการของสมองสำหรับเด็กในทุกช่วงวัย เด็กที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี จะส่งผลทำให้ร่างกายเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีความบกพร่องต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย
ปัญหาการกินเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุ 1-3 ปี ผู้ปกครองจึงมักมีความกังวลว่าบุตรหลานจะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ขาดสารอาหาร หรือมีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม
โภชนาการที่ดีตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิตส่งผลระยะยาวต่อการเรียนรู้ในวัยเรียนต่อเนื่องไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี