Wednesday, October 23, 2024
ผิวเด็กนั้นต่างจากผิวของผู้ใหญ่ เนื่องจากผิวหนังของเด็กตั้งแต่ทารกจนอายุราว 10 ปี จะยังมีผิวชั้นนอกบาง มีความชุ่มชื้นสูงแต่สูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายเช่นกัน เกราะป้องกันผิวของเด็ก ๆ อ่อนแอง่ายต่อการระคายเคืองจากสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ชื้นหรือแห้งเกินไป สารเคมีตกค้าง เส้นใยสังเคราะห์ในผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้า แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ และปัจจุบันยังมีเชื้อโรค แสงแดด และมลพิษที่พร้อมทำร้ายผิวของเด็ก ๆ ได้ตลอดเวลา   ปัญหาผื่นผิวหนังเป็นหนึ่งในอาการหลักที่ทำให้เด็ก ๆ ต้องพบกุมารแพทย์ ในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ปัญหาผิวหนังในเด็กกว่าครึ่งเกิดจากการติดเชื้อและการอักเสบของผิวชั้นนอก ซึ่งมักไม่ร้ายแรงและหายได้ด้วยการดูแลอย่างถูกต้อง อาทิเช่น การรักษาความสะอาดด้วยสารทำความสะอาดที่อ่อนโยน การเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมเกราะป้องกันผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเลือกใช้ยาทาภายนอกที่มีสารต้านการอักเสบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวของเด็กจะมีส่วนช่วยให้ผดผื่นหายเร็วขึ้น   แต่ในบางกรณี ผื่นผิวหนังอาจบ่งบอกถึงโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็ก ๆ มีผื่นผิวหนังร่วมกับจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย แสบร้อนหรือปวดบริเวณผื่นหรือตามข้อ มีไข้ ตาแดง อ่อนเพลีย กินได้น้อย...
แป้งเด็กเป็นหนึ่งในของชิ้นแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เลือกซื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าใครเวลาคิดถึงทารกตัวอ้วนจ้ำม่ำก็ต้องนึกถึงตอนอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ประแป้งฝุ่นหอมฟุ้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าแป้งเด็กที่คุณพ่อคุณแม่กำลังใช้อยู่นั้นอาจไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อย   ในปัจจุบัน นอกจากความร้อน ความอับชื้น และเชื้อโรคใหม่ ๆ สารพัดชนิดที่ทำอันตรายต่อผิวบอบบางของเด็กแล้ว ยังมีฝุ่นและมลภาวะในอากาศที่พร้อมสร้างความเสียหายต่อปอดและทางเดินหายใจของทารก แน่นอนว่าเรื่องนี้สร้างความกังวลต่อทั้งผู้ปกครองและกุมารแพทย์จำนวนมาก สาเหตุหนึ่งของฝุ่นที่ใกล้ตัวลูกน้อยก็คือแป้งเด็กนั่นเอง   จากกรณีการปนเปื้อนของแร่ใยหินซึ่งเป็นสารอันตรายที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีการทำเหมืองทัลคัมลงไปในแป้งเด็กและเครื่องสำอางหลายชนิด ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องสารสังเคราะห์ที่เป็นวัตถุดิบการผลิตแป้งและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเป็นอย่างมาก   นอกจากแร่ใยหินจะถูกคัดกรองออกจากแป้งเด็กอย่างเข้มงวดแล้ว สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกายังแนะนำให้เลิกใช้แป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลค์หรือทัลคัมซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนแร่ใยหินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากพบว่าแม้กระทั่งทัลค์บริสุทธิ์ก็ตกค้างในทางเดินหายใจของเด็กและสร้างความระคายเคือง นำไปสู่ภาวะหลอดลมไวเกินและโรคทางเดินหายใจหลายชนิดหากสะสมเป็นเวลานาน หลักฐานงานวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แป้งเด็กที่มีส่วนประกอบของทัลค์ในบริเวณผ้าอ้อมกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่คำสั่งให้เก็บแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์และทัลคัมออกจากร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา   แล้วแป้งเด็กแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก? สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้แป้งที่มีส่วนผสมจากพืช เช่น แป้งจากข้าว เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายเองได้ ทั้งยังอ่อนโยนต่อผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังแนะนำวิธีทาแป้งเด็กอย่างถูกต้อง โดยโรยลงบนฝ่ามือของผู้ปกครองก่อนจะลูบเป็นชั้นบาง ๆ บนผิวเพื่อสร้างชั้นป้องกันความอับชื้นและกักเก็บความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิวเด็ก...
ในปี พ.ศ. 2566 นี้ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ตารางแนะนำการให้วัคซีนในเด็กไทย แบ่งเป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องให้แก่เด็กทุกคน และวัคซีนทางเลือกที่อาจให้เสริมหรือทดแทน มีคำแนะนำให้วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-โปลิโอชนิดฉีด-ฮิบ เป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือก โดยฉีดได้ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน1   วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์คืออะไร? ปัจจุบันวัคซีนไอกรนในประเทศไทยมีทั้งชนิดไร้เซลล์ (acellular) และชนิดทั้งเซลล์ (whole cell) โดยวัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์มักทำให้เกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีอาการบวม แดง ไข้ และหนาวสั่นร่วมด้วย จึงมีการพัฒนาวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำจากบางส่วนของเชื้อแบคทีเรียเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไม่ต่างกัน2 สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำว่า วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (acellular) แทนชนิดทั้งเซลล์ (whole cell) ได้ทุกครั้ง1   “วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ดี และช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนชนิดทั้งเซลล์ แนะนำให้เริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ...
เจ็บคอ เป็นอาการที่ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เป็นลำดับต้น ๆ อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ เจ็บคอเฉียบพลัน และเจ็บคอเรื้อรัง
ผู้สูงอายุมักมีโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งมากับพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ได้แก่ กระดูกบาง กระดูกพรุน มวลกล้ามเนื้อน้อย และข้อเสื่อม การศึกษาปัจจุบันพบว่ากระดูกและกล้ามเนื้อนั้นมีส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงพบว่าผู้ที่กระดูกพรุนหรือกระดูกบางจะมีมวลกล้ามเนื้อที่น้อยลงเช่นกัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การหกล้มและกระดูกหักได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องดูแลทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงควบคู่กันไป เหตุใดผู้สูงอายุจึงมีกระดูกบาง ร่างกายของมนุษย์มีทั้งระบบการสร้างและการสลายกระดูก โดยปกติแล้วทั้งสองกระบวนการนี้ต้องมีความสมดุลกัน แต่ในความเป็นจริงการสร้างและการทำลายนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปจะมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการสลายกระดูก ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการสลายกระดูก ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต โรคบางชนิด หรือภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะหมดประจำเดือน  นอกจากนี้เพศสภาพก็มีความเกี่ยวข้องกับสภาวะดังกล่าวเช่นกัน โดยพบว่าเพศหญิงอาจมีปัญหาทางกระดูกและกล้ามเนื้อมากกว่าเพศชายเนื่องจากมีทั้งภาวะบางและกระดูกพรุน ในขณะที่เพศชายอาจพบเพียงกระดูกบางเท่านั้น การป้องกันโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำได้โดย ลดปัจจัยเสี่ยงในการทำลายกระดูก เช่น เหล้า บุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นการทำลายกระดูกได้ อีกหนึ่งปัจจัยที่พบบ่อย ได้แก่ การบริโภคคาเฟอีนที่มากกว่า...
การมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน คือ การมีชีวิตอยู่ยาวนานโดยไม่เจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยน้อยที่สุด ซึ่งในศาสตร์ของการมีสุขภาพดี หรือ Lifestyle Medicine จะเน้นเรื่อง “การป้องกัน” เป็นหลัก นอกจากเรื่องของอาหาร การออกกำลังกาย ความเครียด การนอน การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการใช้สารเสพติดแล้ว “สภาพแวดล้อม” ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน จากการศึกษาพบว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากมลพิษในอากาศทั้งในบ้านและนอกบ้านสูงถึง 7 ล้านคน

Recent Posts

pornplaybb.com siteripdownload.com macromastiavideo.com