ไบเออร์ไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์บีแพนเธน

0
1601
ผื่นแพ้ผิวหนัง

ไบเออร์ไทย เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์บีแพนเธน สำหรับอาการคันและแดง
จากผิวแห้ง ผื่นแพ้ 
เกราะปกป้องผิว ให้ความชุ่มชื้น ฟื้นฟูผิวตามธรรมชาติ เพื่อลูกน้อย
และทุกคนในครอบครัว

บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการ “ผื่นแพ้…ดูแลได้” เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ บีแพนเธน
เซนซิเดิร์ม สำหรับช่วยบรรเทาอาการคันและแดงจากผิวแห้งและผื่นแพ้ โดยมี ภญ.บุญศรี เตชะแสนศิริ
ผู้จัดการทั่วไป แผนกคอนซูเมอร์เฮลธ์ ประเทศไทย พม่า และลาว เป็นประธานในงาน พร้อมด้วยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ .พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และ รศ.นพ.อรุชา ตรีศิริโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชศาสตร์ สาขาวิชาโรคผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ผิวหนังทั้งในเด็ก
และผู้ใหญ่ ร่วมด้วย คุณแอน อลิชา หิรัญพฤกษ์ กับลูกสาวตัวน้อย น้องริชา มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ดำเนินรายการโดย คุณหมวย อริสรา กำธรเจริญ

ผื่นแพ้ผิวหนัง

ในช่วงแรกของงาน.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ได้ให้
ความรู้เกี่ยวกับผื่นแพ้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยกล่าวว่า
“ผื่นแพ้มีด้วยกันหลายประเภท เช่น ผื่นแพ้ผิวหนัง
(Atopic Dermatitis) ผื่นแพ้สัมผัส (Allergic Contact Dermatitis) และผื่นลมพิษ (Urticaria) เป็นต้น ซึ่งลักษณะสำคัญของผื่นแพ้คือต้องมี ‘อาการคัน’ ผื่นแพ้ผิวหนัง สามารถพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งโต มักพบบ่อยในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ลักษณะเป็นผื่นแห้ง แดง คัน ผื่นแพ้สัมผัส มักพบในเด็กโตและผู้ใหญ่ ลักษณะคล้ายผื่นแพ้ผิวหนัง แต่เกิดขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสกับสิ่งที่แพ้เป็นเวลานาน ๆ เช่น บริเวณที่ใส่นาฬิกาข้อมือหรือต่างหู ผื่นลมพิษ เป็นผื่นแพ้อีกชนิดหนึ่ง มีอาการคัน ลักษณะเป็นผื่นแดง มีขอบเขตชัดเจน และเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ เมื่อหายดีผื่นจะหายไปอย่างไร้ร่องรอย ไม่มีแผลเป็น โดยผื่นแพ้ที่น่ากังวลคือ ‘ผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก’ เพราะสัมพันธ์กับการเกิดโรคภูมิแพ้ชนิดอื่น ๆ ในอนาคต เช่น หอบหืด แพ้อาหาร แพ้อากาศ เป็นต้น นอกจากนี้ผื่นแพ้ผิวหนังยังสามารถส่งผลกระทบต่อการเติบโตของเด็กได้อีกด้วย เนื่องจากอาการคันที่เกิดขึ้นอาจทำให้คุณภาพการนอนของเด็กแย่ลง มีผลให้ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth hormones) ทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ”  โดยมี คุณแอน อลิชา ได้บอกเล่าประสบการณ์ของน้องริชาว่า ในช่วงอายุเพียง 3 เดือน น้องริชามีผื่นแพ้เกิดขึ้นบริเวณใบหน้า หลังจากแพทย์ให้การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์ในปริมาณและระยะเวลาที่จำกัด อาการจึงดีขึ้น แต่
หลังจากนั้นก็กลับเป็นซ้ำอยู่ประมาณหนึ่งเดือน ก่อนจะหายเป็นปกต ในส่วนนี้ .พญ.อรพรรณ  ได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมว่า “ลักษณะผื่นแพ้ของน้องริชา เป็นลักษณะจำเพาะของผื่นแพ้ผิวหนัง เพราะการกระจายของผื่นแพ้ผิวหนังจะขึ้นกับช่วงอายุ โดยในเด็กเล็กผื่นจะขึ้นบริเวณแก้มทั้ง 2 ข้างและตามลำตัว ส่วนในเด็กโตจะพบผื่นแพ้ผิวหนังบริเวณข้อพับและขาหนีบ ในกรณีที่เป็นไม่มาก อาการไม่รุนแรง การดูแลผิวอย่างถูกต้องเหมาะสมอาจช่วยให้อาการ
ดีขึ้นได้ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง เรื้อรัง เช่น มีผื่นทั้งที่ใบหน้าและลำตัว ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
เพิ่มเติมว่าผื่นแพ้ผิวหนังที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหารร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงประมาณครึ่งหนึ่งมีเรื่องของอาหารเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย”

ผื่นแพ้ผิวหนัง

ศ.พญ.อรพรรณ  กล่าวเพิ่มเติมในเรื่องของการดูแลรักษาผื่นแพ้ผิวหนังว่า
“โดยธรรมชาติแล้ว ผู้ที่เป็นผื่นแพ้ผิวหนังจะมีผิวที่แห้งมาก ทำให้เกิดอาการคัน
ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าหนาวจะคันมากขึ้น และการเกาจะทำให้อาการยิ่งแย่ลง นอกจากนี้โรคผื่นแพ้ผิวหนังยังเป็นโรคที่มีโอกาสกลับเป็นซ้ำ
ได้มากถึงร้อยละ 60-70 ดังนั้นจึงควรเน้นเรื่อง ‘การป้องกัน’ หลักการสำคัญคือ การดูแลไม่ให้ผิวแห้ง ด้วยการไม่อาบน้ำอุ่น ใช้สบู่อาบน้ำที่เหมาะสำหรับ
ผิวบอบบางแพ้ง่าย ปราศจากกลิ่น และไม่มีฟองมาก และที่สำคัญที่สุดคือ การทามอยส์เจอไรเซอร์หรือครีมให้ความชุ่มชื้นหลังอาบน้ำภายใน 5 นาที เพราะเป็นช่วงที่ผิวกำลังอุ้มน้ำจึงช่วยให้มอยส์เจอไรเซอร์ซึมเข้าสู่ผิวได้ง่าย สำหรับเด็กไม่ว่าจะเป็นผื่นแพ้ผิวหนังหรือไม่ แนะนำให้เลือกใช้มอยส์เจอไรเซอร์สำหรับผิวแพ้ง่ายได้เลยเพื่อความมั่นใจ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำหอม สี และสารปรุงแต่งอื่น ๆ
ที่สำคัญควรมีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ว่าเหมาะสำหรับผิวแพ้ง่าย
ในกรณีที่มีผื่นเกิดขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้
ยาทาสเตียรอยด์ทุกครั้ง เพราะมีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
หากจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ถ้าเป็นไม่มากอาจดูแลด้วยการใช้มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีช่วยลดอาการคัน และลดปัญหาผิวแห้งก่อน”  

ผื่นแพ้ผิวหนัง

รศ.นพ.อรุชา ตรีศิริโชติ ได้ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบบ่อยว่า
มีอยู่ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผื่นผิวหนังอักเสบ และ กลุ่มที่ไม่ใช่ผื่นผิวหนังอักเสบ โดยกลุ่มผื่นผิวหนังอักเสบอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยภายใน เช่น ผื่นภูมิแพ้ และปัจจัยภายนอก เช่น ผื่นแพ้สัมผัส สำหรับกลุ่มที่ไม่ใช่ผื่นผิวหนังอักเสบคือกลุ่มที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ “ในเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอักเสบควรหลีกเลี่ยงการใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำหอม รวมทั้งระมัดระวังการใช้เบบี้ออยล์ ไม่ควรทาลงบนผิวหนังโดยตรง แต่ควรหยดผสมลงไปในน้ำสำหรับอาบ อย่างไรก็ตามในเด็กบางรายแม้จะผสมเบบี้ออยล์จนเจือจางแล้วก็ยังอาจเกิดอาการแพ้ได้ จึงควรเลือกใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ชนิดไม่มีน้ำหอมและผลิตขึ้นมาสำหรับผู้ที่มีปัญหาผื่นแพ้ผิวหนังจะดีที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่มีเหงื่อออกหรือการอาบน้ำอุ่น ทั้งหมดนี้จะช่วยให้ผิวหนังกลับมาเป็นปกติเร็วขึ้น” รศ.นพ.อรุชา กล่าวแนะนำในตอนท้าย