สมองใส ห่างไกลอัลไซเมอร์

0
959

การศึกษาในปัจจุบันให้ความสำคัญทางด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษาโรค โดยมีเป้าหมาย คือ ทำให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดี ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุซึ่งตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มากมาย การป้องกันและดูแลผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนักเป็นอย่างยิ่ง

ภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมถือเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยนิยามจากความผิดปกติด้านความจำ การคิด และความสามารถด้านการเข้าสังคม ซึ่งรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยผู้ป่วยต้องสูญเสียความสามารถ 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ได้แก่ ความจำ การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขับรถ การจ่ายตลาด เป็นต้น สาเหตุอาจเกิดจากการละเลยการดูแลสุขภาพ การมีโรคประจำตัว การไม่ออกกำลังกาย และการขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 12  เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น โดยพบว่าหากอายุมากกว่า 80 ปี จะมีความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมสูงกว่าคนทั่วไปถึง 10 เท่า

ภาวะสมองเสื่อมแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  1. ระยะเริ่มต้น ผู้ป่วยมีอาการเล็กน้อย สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่มีอาการหลงลืม ความจำระยะสั้นหายไป
  2. ระยะปานกลาง ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้น อาจส่งผลถึงการคิดคำนวณ และเริ่มมีอาการทางด้านจิตเวชร่วมด้วย
  3. ระยะรุนแรง ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน เช่น ขับถ่าย อาบน้ำ แต่งตัวได้

ความแตกต่างระหว่างสมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์

แม้อาการจะใกล้เคียงกัน แต่ภาวะอัลไซเมอร์อาจเกิดจากพันธุกรรม และเกิดได้ทุกเพศทุกวัย (มักเกิดเมื่ออายุมากกว่า 40 ปี) แต่ภาวะสมองเสื่อมมักเกิดในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี

เทคนิคป้องกันภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

  1. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ และควรควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐาน
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผักผลไม้หลากสี อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว โดยอาหารที่ช่วยด้านความจำมากที่สุด ได้แก่ อาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งให้ความสำคัญกับผักและผลไม้สด เน้นการรับประทานปลา ดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด น้ำตาลที่มากเกินไป นอกจากนี้ อาหารเสริมบางชนิดอาจช่วยป้องกันภาวะสมองเสื่อมได้ เช่น วิตามินซี (ปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน คือ 1000 มิลลิกรัม) วิตามินดี วิตามินอี ซึ่งมักพบในพวกเมล็ดธัญพืช อาหารเสริมจำพวกน้ำมันปลาสามารถป้องกันภาวะมองเสื่อมได้ แต่ควรมี DHA ซี่งมีสรรพคุณบำรุงสมอง และ EPA ลดการอับเสบ มากกว่า 500 มิลลิกรัม งดกาแฟและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
  3. พักผ่อนเพียงพอ ผู้สูงอายุควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ จะเห็นได้ว่าผู้สูงอายุมักมีปัญหาด้านการพักผ่อนโดยเฉพาะเพศหญิงเนื่องจากสัมพันธ์กับระดับฮอร์โมนเอสโทรเจน นอกจากนี้ยังต้องดูแลเรื่องของการจัดวางข้าวของให้เป็นระเบียบ และระมัดระวังเรื่องการลื่นล้ม
  4. ดูแลสภาพจิตใจ จัดให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมยามว่าง เช่น การอ่านหนังสือ เพื่อลดความเครียด และเพิ่มโอกาสการเข้าสังคม
  5. หมั่นฝึกสมองและใช้ความจำ เช่น การฝึกคิดเลขโดยไม่ใช้เครื่องคิดเลข เป็นต้น

และนี่คือ เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราห่างไกลจากภาวะสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์

เรียบเรียงจาก การบรรยายเรื่อง “สมองใส ห่างไกลอัลไซเมอร์” โดย นพ.สุทธิพจน์ ภัทรมงคลกาล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟู คลินิกสุขภาพมิสกวาน งานสุขภาพเต็มร้อย วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม 2565

คลินิกสุขภาพมิสกวาน เฮลธ์ กรุ๊ป จำกัด (MHG): ผู้ให้บริการทางการแพทย์แบบสมุทัยเวชศาสตร์และเวชศาสตร์ชะลอวัยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ด้วยแนวทางบูรณาการด้านการแพทย์ที่มีพื้นฐานมาจากหลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเน้นการรักษาไปที่ต้นเหตุของโรคโดยได้รับการพัฒนามาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปีจากประเทศเยอรมนี

ปัจจุบัน มิสกวานมีคลินิกอยู่ 5 แห่งทั่วโลก ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ, ฮ่องกง, เกาะสมุย, ภูเก็ต และลุดวิกส์เบิร์ก (เยอรมนี)

ที่อยู่: คลินิกสุขภาพมิสกวาน
127 เกษรทาวเวอร์ชั้น 11 ยูนิตดี อี และเค ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

เยี่ยมชมเว็บไซต์ www.miskawaanhealth.com โทร +66 (0) 2-086-8888 หรือ อีเมล: contact@miskawaanhealth.com