ทางปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจาก PM2.5 – เว้นกินกลางคืน

ผศ. นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อดีตหัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

0
881
PM2.5

“..เธอทั้งหลายฉันโภชนะ เว้นการฉันในราตรีเสีย จักรู้คุณคือความเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีกำลัง และอยู่สำราญ..”(ฉบับหลวง ๑๓/๒๒๒) พระพุทธเจ้าสอนให้เราไม่กินอาหารเวลากลางคืน (หลังพระอาทิตย์ตก) จะมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย มีโรคน้อย มีแรงทำงานได้  กระปรี้กระเปร่า และอยู่เป็นสุข

การศึกษาทางตะวันตกพบว่า การกินกลางคืน หรือกินมื้อดึก (หลังมื้อเย็น) สัมพันธ์กับการเป็นโรคเบาหวาน
18%1 และโรคหลอดเลือดหัวใจ 55%2 ซึ่งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับฝุ่นพิษ PM2.5 และมลพิษในอากาศทั้ง ๒ โรค นอกจากนี้ การกินกลางคืน ซึ่งอากาศเย็นกว่ากลางวัน ปริมาณฝุ่นหรือมลพิษในอากาศเข้มข้นมากกว่าเวลากลางวัน โดยเฉพาะกินนอกบ้านริมถนน (street food) ได้รับมลพิษในอากาศจากเตาถ่าน-ฟืนทำอาหารและควันท่อไอเสียรถยนต์เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดังนั้น การเว้นกินกลางคืน ไม่กินอาหาร รวมทั้งผลไม้ ขนม ของว่าง น้ำหวาน น้ำผลไม้ (ยกเว้นดื่มน้ำเปล่าสะอาด) หลังพระอาทิตย์ตก ก็เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ให้ปฏิบัติเพื่อความมีโรคน้อย รวมทั้งโรคภัยที่เกิดจากมลพิษในอากาศและ PM2.5 ด้วย

ข้อมูลอ้างอิง: 1. Am J Clin Nutr 2012;95:1182. 2. Circ 2013;128:337

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง