ปวดแบบไหน ปวดไมเกรน
โรคปวดศีรษะมีอยู่มากมายหลายประเภท ที่พบบ่อยในปัจจุบันและมีระดับความรุนแรงค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมากคือ “โรคปวดศีรษะไมเกรน” โดยพบความชุกได้มากถึงร้อยละ 15 ของประชากรทั่วโลก และเป็นโรคทางระบบประสาทที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองจากโรคปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว
นิ้วล็อค (Trigger Finger)
เอ็นเป็นส่วนเชื่อมกล้ามเนื้อบริเวณแขนท่อนล่างและกระดูกนิ้วมือ ทำให้นิ้วมือเคลื่อนไหวได้ โดยมีปลอกหุ้มเอ็นรัดเอ็นไว้กับกระดูกนิ้วมือ การทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานมือมาก ๆ และซ้ำ ๆ เช่น งานบ้าน งานช่าง จะทำให้เอ็นถูกเสียดสี และเกิดการอักเสบได้ ส่งผลให้เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบไปด้วย นอกจากนี้เอ็นและปลอกหุ้มเอ็นก็จะหนาตัวขึ้น ทำให้เอ็นเคลื่อนไว้ได้ไม่ดี เวลาเหยียดนิ้วจึงมีอาการติดขัดหรือล็อค
กว่าจะเป็นนักกีฬาระดับโลก
การจะก้าวมาเป็นนักกีฬาระดับแนวหน้าของประเทศและของโลกนั้นแทบจะต้องใช้การฝึกฝนกล้ามเนื้อและสมรรถภาพของร่างกายให้ข้ามขีดจำกัดเหนือมนุษย์ทั่วไป แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่จะช่วยให้คนธรรมดา ๆ สามารถก้าวไปเป็นนักกีฬาระดับโลกได้
เด็กสมาธิสั้น ทำไมต้องรักษา
โรคสมาธิสั้นเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชเด็กที่พบบ่อย ลักษณะอาการมีตั้งแต่ซุกซน อยู่ไม่สุข ยุกยิก วอกแวกง่าย บางรายอาจมีลักษณะเหม่อลอย ไม่ซน อยู่นิ่ง ซึ่งพบได้น้อยกว่า และบางรายอาจมีอาการทั้ง 2 ลักษณะร่วมกัน หลายท่านอาจมองว่าความซุกชนเป็นธรรมชาติของเด็กอยู่แล้ว โรคสมาธิสั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล…จริงหรือ?
เป็นตะคริว แก้ได้ไหม?
ตะคริว (muscle cramp หรือ spasm) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้อในร่างกายหดเกร็งอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้บริเวณของกล้ามเนื้อมัดนั้น ๆ เกิดความเจ็บปวด โดยส่วนมากตะคริวเป็นภาวะที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ไม่ส่งผลถึงชีวิตหรืออวัยวะ แต่ก็สร้างความทรมานให้กับผู้ที่มีอาการได้ไม่น้อย
รับมือเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ภัยเงียบสู่การสูญพันธุ์ของมนุษย์
ตามธรรมชาติของเชื้อโรคนั้นย่อมมีการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์ของตัวเองเพื่อการอยู่รอดในอนาคต จึงมีผู้กล่าวว่ากระบวนดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียในปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหยุดยั้ง โดยที่กระบวนการนี้ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติจะใช้เวลายาวนานมาก แต่ปัญหาการติดเชื้อดื้อยาที่เกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งในปัจจุบันนั้นเกิดจากปัจจัยกระตุ้นที่ไม่เป็นธรรมชาติที่เข้ามารบกวนกระบวนการมากกว่า ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือ “มนุษย์”
โรคหลงผิด (Delusional disorder)
โรคหลงผิดเป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย โดยพบได้ประมาณร้อยละ 0.025-0.03 ในประชากรเท่านั้น น้อยกว่าโรคจิตเภทซึ่งเป็นโรคในกลุ่มกลุ่มโรคจิตด้วยกันมาก (โรคจิตเภทพบได้ร้อยละ 0.6-1) อย่างไรก็ตามเชื่อว่าความชุกที่แท้จริงน่าจะสูงกว่านี้ เพียงแต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่ไปพบแพทย์ และไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย
ผิวหนังติดเชื้อเซลลูไลติส
ผิวหนังติดเชื้อเซลลูไลติสคือการติดเชื้อแบคทีเรียของผิวหนังที่จำกัดขอบเขตอยู่ที่ผิวหนังส่วนลึกและชั้นใต้ผิวหนัง ภาษาแพทย์เรียกว่า เซลลูไลติส (cellulitis) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงวัยกลางคนหรือสูงอายุ มักเกิดขึ้นเมื่อมีแผลไม่ว่าเล็กหรือใหญ่บนผิวหนัง เป็นทางเข้าของเขื้อโรค ทำให้เกิดการบุกรุกแพร่พันธุ์หรือติดเชื้อขึ้น
เที่ยวไป ชิมไป อิ่ม อร่อย ปลอดเชื้อโรค
“อาหาร” ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ เวลาที่เราเดินทางไปไหนก็ตาม เป็นธรรมดาที่เราอยากจะชิมอาหารพื้นเมืองของประเทศนั้น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่า อาหารก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจทำให้เราเจ็บป่วยได้ เชื้อโรคที่มากับอาหารมีหลายชนิดด้วยกัน เช่น ตับอักเสบเอ ไทฟอยด์ แบคทีเรีย ไวรัส และโปรโตซัวต่าง ๆ
เชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ภัยเงียบสู่การสูญพันธุ์ของมนุษย์
จำนวนผู้ป่วยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยานั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี มีการคาดการณ์ว่าหากสถานการณ์การติดเชื้อยังไม่ดีขึ้น จำนวนผู้ป่วยยังคงพุ่งสูงขึ้นในอัตราเช่นนี้ทุกปี ในปี ค.ศ.2050 จะมีผู้ป่วยเสียชีวิตจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปีละสิบล้านคน เรียกได้ว่าการติดเชื้อดื้อยานี้จะฆ่าคนได้มากมายยิ่งกว่าระเบิดนิวเคลียร์ทั้ง 2 ลูกในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมกันถึงประมาณ 50 เท่าเลยทีเดียว