เจ็บหน้าอกเพราะกินยา

เมื่อไม่นานมานี้มีคุณยายคนหนึ่งมาให้หมอตรวจ โดยบ่นว่าเจ็บหน้าอกบริเวณหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกอย่างนี้ในคนวัย 60 ปีนับว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะอาจเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือดที่อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที แต่อาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นได้จากหลายโรค นอกจากโรคหัวใจขาดเลือดแล้วยังอาจเกิดอาการเจ็บจากผนังหน้าอกบาดเจ็บ การอักเสบของปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดใหญ่ในช่องอกโป่งพอง ถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น การที่คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก บ่อยครั้งหมอจึงต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมจึงจะแยกโรคให้ชัดเจนได้ เมื่อซักประวัติได้ความว่าคุณยายเป็นหวัดแล้วไปให้หมอคลินิคตรวจและจ่ายยารักษา หลังจากกินยาได้ชั่วข้ามคืน รุ่งเช้าคุณยายก็รู้สึกเจ็บหน้าอกเพิ่มขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง หลานสาวที่เคยอ่านเรื่องโรคหัวใจมาบ้างก็ตกอกตกใจ พาคุณยายไปให้หมอคลินิคตรวจซ้ำ หมอก็บอกให้มาโรงพยาบาลเพื่อตรวจหัวใจ คนไข้มาถึงโรงพยาบาลตอนกลางคืน หมอเวรห้องฉุกเฉินทำการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นหัวใจ ฉายเอกซเรย์ปอดแล้วก็ยังไม่สามารถแยกโรคได้ชัด จึงได้ทำการส่งตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ ปรากฏว่าทุกอย่างที่ตรวจนั้นปกติหมด คือไม่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคถุงน้ำดี...

ฝนตก น้ำขัง ระวังฉี่หนู!

ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้งยังความชุ่มฉ่ำไปทั่วทุกพื้นที่ บางคนชอบเพราะฝนมาพาให้สดชื่น แต่ก็มีไม่น้อยที่รู้สึกนอยด์กับความชื้นแฉะ ในแง่มุมด้านสุขภาพมีโรคมากมายที่มาพร้อมกับสายฝน ชวนให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่  ท้องร่วงเฉียบพลัน ตาแดง น้ำกัดเท้า และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ “โรคเลปโตสไปโรซิส” หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ “โรคฉี่หนู” นั่นเอง โรคนี้มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน ป้องกันและรักษาได้อย่างไร HealthToday ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก อ.พญ.วิรงค์รอง เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฉี่หนู ที่ไม่ได้มีแค่หนูเท่านั้นที่เป็นตัวนำโรคอย่างที่หลายคนเข้าใจ ที่มาของ “โรคฉี่หนู” โรคฉี่หนู...

พยาธิตัวตืด ร้าย…แค่ไหน?

พยาธิตัวตืดมีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อยคือ พยาธิตืดหมู และ พยาธิตืดวัว สามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้ 2 ลักษณะ คือ พยาธิตัวอ่อนเป็นถุงคล้ายเม็ดสาคูในเนื้อเยื่อ (พบเฉพาะตืดหมูเท่านั้น) และ พยาธิตัวแก่ในลำไส้ (พบทั้งตืดหมูและตืดวัว) ถุงพยาธิตัวอ่อนที่เนื้อเยื่อ เกิดจากการกินไข่พยาธิที่ปะปนมากับอาหาร เช่น ผักดิบ หรือกินไข่พยาธิที่ติดมือเข้าไป อาจเกิดจากการขย้อนปล้องแก่ของพยาธิที่อาศัยอยู่ในลำไส้ย้อนกลับเข้าสู่ในกระเพาะอาหาร ปล้องแก่ที่เต็มไปด้วยไข่ถูกย่อยโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแตกออก ตัวอ่อนที่อยู่ภายในฟักออกจากไข่ไชทะลุผนังลำไส้เข้าสู่กระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองกระจายไปทั่วตัว แล้วไชทะลุผนังหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองส่วนปลายเข้าไปเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนในเนื้อเยื่อ ได้แก่ เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อ แขน ขา กะบังลม อาจไปอยู่ในระบบประสาท สมอง...

เล่นจ๊ะเอ๋ มีประโยชน์

มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่ดูจะง่ายเสียจนหลายคนหลงลืมไป เรามาทบทวนกัน การเล่นจ๊ะเอ๋ ควรจะเริ่มเล่นได้เมื่อเด็กรู้ว่าวัตถุมีจริงแล้วคือ object permanence ของชิ้นหนึ่งหายไปแล้ว โผล่มาใหม่ได้ เอาผ้าไปคลุมของเล่นที่เขากำลังเล่น เขารู้จักพลิกผ้าหาของออกมาเล่นต่อได้

บาดเจ็บคอ จากการออกกำลังกาย

การบาดเจ็บจากการออกกำลังกายส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับอวัยวะส่วนที่เคลื่อนไหว ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ กล้ามเนื้อ รองลงมาคือ เส้นเอ็นที่ยึดติดกับกล้ามเนื้อ (tendon) และเส้นเอ็นที่ยึดกับกระดูกและข้อต่อต่าง ๆ (ligament) การบาดเจ็บอื่นๆ เช่น บาดแผลที่ผิวหนัง อาการฟกช้ำ ตะคริว อาการปวด ลมแดด การบาดเจ็บส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณขาและเท้าประมาณร้อยละ 60  มือ แขน และไหล่พบประมาณร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นส่วนลำตัว บริเวณศีรษะ และคอ ตามลำดับ