องค์การอนามัยโลกเปิดเผยข้อมูลล่าสุดว่าภายในปี 2050 จะมีประชากรผู้สูงอายุราว 2 พันล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้จะมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์กว่า 130 ล้านคน ส่วนในประเทศไทยมีผู้สูงอายุราว 16 ล้านคนในปัจจุบัน และคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า แม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการทางการแพทย์ใดที่ป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมชนิดนี้ได้ แต่การได้รับวินิจฉัยตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีการดำเนินโรคที่ช้าลง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ในปัจจุบัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองจะใช้การซักประวัติและตรวจร่างกายผู้ป่วย รวมทั้งสอบถามผู้ดูแลเพิ่มเติมถึงอาการผิดปกติ นอกจากนี้แพทย์ยังใช้แบบทดสอบความจำและเชาว์ปัญญาเพื่อประเมินหาความผิดปกติในการทำงานของสมองในด้านต่าง ๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่มาก เช่น แบบประเมินสุขภาวะทางจิตแบบย่อ (MMSE) ซึ่งเป็นแบบสอบถามที่แพร่หลายมากที่สุด ส่วนวิธีการส่งตรวจน้ำไขสันหลังและการถ่ายภาพรังสีของสมอง แพทย์จะพิจารณาเป็นรายบุคคลถึงความเหมาะสมในการส่งตรวจเพิ่มเติม
AI ช่วยตรวจหาอัลไซเมอร์ได้อย่างไร
ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากหรือยังไม่แสดงอาการชัดเจนยังมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยที่รวดเร็ว เพื่อให้เข้าถึงการรักษาได้ทันท่วงที การตรวจภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน แต่ในหลาย ๆ ครั้งพบว่าเนื่องจากปริมาตรและรูปร่างของเนื้อสมองยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักในผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการ ประกอบกับสิ่งส่งตรวจอื่น ๆ ยังไม่มีความผิดปกติ แพทย์จึงยังไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เริ่มต้น ดังนั้นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI จึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการช่วยแพทย์ด้านสมองและระบบประสาทรวมทั้งรังสีแพทย์ในการตรวจคัดกรองหาภาพของสมองที่เป็นรูปแบบเฉพาะของอัลไซเมอร์
ตัวอย่างเช่น Neuro I ซึ่งเป็น AI Software ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย ประเทศเกาหลี และ บริษัท นิวโร เอไอ จำกัด (Neuro AI Co., Ltd) พร้อมระบบฐานข้อมูลที่เรียกว่า Brain MR (Magnetic Resonance) Image based Alzheimer’s Disease Clinical Decision Support System (CDSS) ซึ่งเป็นระบบที่มีฐานข้อมูลภาพสมองที่ตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากว่า 6,000 ภาพ โดยครอบคลุมภาพจากบุคคลปกติและผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคสมองเสื่อมที่นำมาช่วยประมวลผลภาพถ่ายสมองของผู้ป่วยแต่ละรายเมื่อใช้ซอฟแวร์นี้ ทำให้แพทย์คัดกรองผู้ที่มีความเสี่ยงและทำการวินิจฉัยอัลไซเมอร์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อได้เปรียบของเอไอที่พัฒนาโดยคนเอเชียก็คือ การใช้ฐานข้อมูลของประชากรชาวเอเชียด้วยกัน จึงเพิ่มความแม่นยำและสร้างความมั่นใจได้ถึงผลการวินิจฉัย รวมทั้งตรวจจับความผิดปกติที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาดได้ แต่จากการศึกษาวิจัยพบว่า การตรวจพบว่าเป็นโรคความจำถดถอยในกลุ่มเสี่ยงตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนจะเกิดโรคจะเป็นผลดีต่อผู้ป่วย และในประเทศไทยยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อโรคนี้อยู่และได้รับการวินิจฉัยเมื่อสายเกินไป ทำให้ยากแก่การรักษา แนะนำให้ผู้สูงอายุเริ่มตรวจก่อนจะมีอาการ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ: บริษัท นิวโร เอไอ จำกัด
เลขที่ 139 อาคาร เดอะ โอภัส ชั้นที่ 6, ห้องเลขที่ 606, ซอยทองหล่อ 10 ถนนสุขุมวิท, คลองตันเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110. Website : www.theneuroai.com