กว่า 15% ของคู่สมรสในประเทศไทย หรือหนึ่งในเจ็ดของคู่แต่งงานทั่วโลก พยายามที่จะมีลูกภายใน 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์กันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง ทั้งที่ไม่ได้มีการคุมกำเนิด แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ซึ่งเข้าข่ายของการเกิดภาวะมีบุตรยากนั่นเอง
ปัญหาการมีลูกยาก เป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคู่รักหลาย ๆ คู่ ที่แม้จะพยายามเท่าไรก็ไม่สำเร็จสักที ซึ่งสาเหตุนั้นก็มีอยู่ด้วยกันมากมาย และอาจจะมาจากทั้งฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิงก็ได้ ดังนั้นการรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ย่อมช่วยให้คู่สมรสมีโอกาสประสบความสำเร็จกับการตั้งครรภ์ได้ง่ายขึ้น
วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์นั้นมีหลายวิธี แต่วิธีที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมนั้นคือ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว โดยเรียกเป็นภาษาอังกฤษสั้น ๆ ว่า IVF (In-vitro Fertilization) ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้ชำนาญการเท่านั้น
หมอเบียร์หรือนายแพทย์ธิบดี หฤไชยะศักดิ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง
ผู้อำนวยการและแพทย์เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ Life Women’s Health (ไลฟ์สุขภาพสตรีคลินิกเฉพาะทางด้านเวชกรรม สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา) ใจกลางเมืองย่านราชประสงค์ อาคารเกษรทาวเวอร์ชั้น 11 ได้ให้ความรู้เรื่องการทำ IVF เอาไว้ว่า “ถึงแม้การทำ IVF จะช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการมีบุตรยากได้ แต่อัตราการสำเร็จนั้นอยู่ที่ 41-43% เท่านั้น และหากอายุยิ่งมากขึ้น อัตราความสำเร็จก็จะยิ่งลดลง”
คุณหมอเบียร์ได้พูดถึงเทคนิคเฉพาะตัวที่ช่วยให้การทำ IVF สำเร็จได้ง่ายขึ้น ดังนี้
- ขั้นตอนการดึงเซลล์ตัวอ่อนเพื่อนำไปตรวจพันธุกรรม (Blastocyst Biopsy For Preimplantation Genetic Testing) คุณหมอใช้เทคนิคที่เรียกว่า Flicking เป็นการใช้เข็มในการตัดเซลล์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนิยมใช้เลเซอร์ที่มีความร้อนสูง อาจจะทำให้เซลล์ที่ดึงออกมาเสื่อมสภาพ (Degenerated) จนทำให้ผลทางพันธุกรรมคลาดเคลื่อนได้
- การใช้ Automatic Pipette แทนการใช้ปีเปตแก้ว (Glass Pipette) ในการเคลื่อนย้ายตัวอ่อน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ร่วมกับตะเกียงแอลกอฮอล์ สารระเหยที่ไม่พึงประสงค์ (Volatile Organic Compounds) จากตะเกียงแอลกอฮอล์นั้น ส่งผลให้การเจริญเติบโตของตัวอ่อนแย่ลง
- การแช่แข็งตัวอ่อน (Embryo Freezing) ที่พัฒนาเป็นระยะ Blastocyst โดยในระยะนี้ตัวอ่อนจะมีเซลล์ที่แข็งแรงและมากที่สุดคือประมาณ 100 – 300 เซลล์ ทำให้เมื่อละลายออกมาแล้วมีโอกาสรอดชีวิตถึง 99% ต่างกับห้องปฏิบัติการตัวอ่อนแบบดั้งเดิมที่มักจะแช่งแข็งตัวอ่อนที่ระยะ Zygote (มี 1 เซลล์) หรือ cleavage stage (มี 6 – 12 เซลล์) ซึ่งเซลล์นั้นยังอ่อนแอ จึงมีโอกาสรอดเพียง 70% รวมถึงมีปัญหาในการเจริญเติบโต และฝังตัวอีกด้วย
- การเลี้ยงตัวอ่อนแบบ 1 ตัวอ่อน ต่อน้ำยา 1 Drop ซึ่งต่างกับห้องปฏิบัติการตัวอ่อนแบบดั้งเดิมซึ่งมักเลี้ยงหลายตัวอ่อนต่อ 1 Drop น้ำยา โดยการเลี้ยงตัวอ่อนแบบ 1 ต่อ 1 นี้ จะทำให้สามารถติดตามการพัฒนาการของตัวอ่อนได้อย่างใกล้ชิด ทำให้การเลือกตัวอ่อนมาใส่ให้ตั้งครรภ์มีคุณภาพดีที่สุด ดีกว่าการเลี้ยงแบบกลุ่มซึ่งไม่สามารถติดตามการพัฒนาการของตัวอ่อนแบบตัวต่อตัวได้
แต่ทั้งนี้ โอกาสสำเร็จของการทำ IVF นั้น ขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัยร่วมด้วย ดังนั้นแล้วควรเข้าพบและปรึกษาแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญ ทำการตรวจและวินิจฉัย เพื่อโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ที่มากขึ้น