หลังเกิดเหตุการณ์กราดยิงครั้งล่าสุดในโรงเรียนที่รัฐฟรอลิดา กลุ่มผู้ชุมนุมเป็นนักเรียนนักศึกษาที่นัดหมายกันออกมาชุมนุมผ่านทางโซเชียลมีเดีย โดยมีการร่วมติดแฮชแท็ก Never again หรือ Enough จะเห็นได้ว่าเป็นการใส่ใจในปัญหาที่ไปไกลกว่าการมองระดับเหตุการณ์ ไปสู่การพยายามแก้ไขปัญหาเชิงระบบ
หากจะมีอะไรที่ช่วยป้องกันสมองเสื่อมเร็วเกินไปได้บ้างน่าจะเป็น…ไพ่สักสำรับ ไพ่สี่หน้าเล่นสี่คนได้ประโยชน์ทั้งบริหารสมองและได้พบปะเพื่อนฝูงหรือญาติพี่น้องขาไพ่เป็นระยะๆ การเล่นไพ่บริหารสมองดี เพราะไพ่เป็นเกมที่เล่นกับโอกาสและความน่าจะเป็นที่หลากหลาย ทำให้สัญญาณประสาทตื่นตัว แอคทีฟ และชาร์จพลังงานอยู่เสมอ
คำสำคัญของบทความนี้คือ free play, real play, unstructured play แปลตามตัวว่า การเล่นอย่างเสรี การเล่นจริงๆ และการเล่นที่ไร้โครงสร้าง แปลว่าอะไรช่างเถอะ ลองนึกภาพเด็กเล่นในสนามจริงๆ อย่างอิสระ อย่างเสรี คิดเอาเอง เล่นกันเอง สร้างสรรค์เอง หากเป็นกลุ่มเด็กเล่นกันก็คุยกันเอง วางกติกากันเอง และโต้เถียงกันเอง
ชีวิตคู่ สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตคู่ที่ดีคือเรื่องของความใกล้ชิดและระยะห่าง การใช้เวลาร่วมกันอย่างมีคุณภาพเป็นเคล็ดลับอันหนึ่งของการรักษาความสัมพันธ์ให้ดีงาม หากขาดสิ่งนี้ไป ความห่างเหินก็จะเข้ามาแทนที่ และกัดกร่อนความสัมพันธ์ไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้ตัว จนหมดรักได้ในวันหนึ่ง
เสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ วันที่เด็ก ๆ ได้มีกิจกรรมกับครอบครัว โดยเฉพาะได้ไปเที่ยวงานวันเด็กกับพ่อแม่ ยกเว้นเด็กที่โตแล้ว อาจมีกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดทั้งในและนอกสถานที่โดยไม่มีพ่อแม่ไปด้วย คงเป็นภาพที่พ่อแม่ทุกคนสัมผัสได้ตั้งแต่วันที่ลูกเป็นทารก ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา จนถึงวันที่ลูกโตขึ้นเรื่อย ๆ ห่างจากสายตาพ่อแม่ จนถึงวันที่เขาไปเริ่มใช้ชีวิตตามลำพัง นาน ๆ จะได้กลับมาร่วมกิจกรรมครอบครัวกัน
อาการ phantom limb คือการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่า แขน ขา (หรืออวัยวะอื่นใดก็ได้) ที่ถูกตัดออกไปแล้วยังคงอยู่ สามารถรับรู้ ขยับ หรือเจ็บปวดก็ได้ โดยปรากฏการณ์นี้ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกประมาณ 400 ปีมาแล้ว (ช่วงปลายของ ค.ศ.1500) และถูกตั้งชื่อว่า phantom limb โดยศัลแพทย์ชื่อ Silas Weir Mitchell ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1800 หลังจากนั้นปรากฏการณ์นี้ก็เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
นิตยสาร Time ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม 2013 ตีพิมพ์บทความเรื่อง generation me พูดถึงเด็กปัจจุบันที่มีลักษณะหลงตัวเอง รวมทั้งอาจเฉื่อยชา ขี้เกียจ เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตน ทำเอาผู้ใหญ่เชื่อตามๆ กันไปว่าเด็กรุ่นใหม่แย่กว่ารุ่นตัวเอง และน่ากังวลว่าสังคมนี้คงอยู่ไม่ได้ เพราะเด็กที่เห็นแก่ตัวจะมาสนใจดูแลผู้ใหญ่ที่แก่ตัวลงไปทุกวันได้อย่างไร
โรคดึงผมตัวเอง หรือในภาษาอังกฤษคือ trichotillomania หรือ hair-pulling disorder เป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมถอนผม (หรือขน) ของตัวเองซ้ำ ๆ จนทำให้ผมแหว่งหรือล้านเป็นหย่อม ๆ โรคดึงผมปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder)
ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่มีส่วนประกอบหลักเป็นสารกลุ่มแอมเฟตามีน ซึ่งในขณะที่หมอกำลังเขียนบทความนี้เป็นช่วงที่กำลังมีข่าวดังมากเกี่ยวกับแนวคิดที่จะถอดสารกลุ่มแอมเฟตามีนออกจากบัญชียาเสพติด รวมถึงการปรับเปลี่ยนกฎหมายที่เกี่ยวข้องจนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ดังนั้นแล้วเราลองมารู้จักแอมเฟตามีนกันสักนิดว่ามันคืออะไร มีที่มาอย่างไร มีผลเสียนิดเดียวจริงหรือไม่ และมันมีประโยชน์ด้วยหรือ?
ไม่นานมานี้มีข่าวดังที่เกี่ยวข้องกับทั้งวงการการแพทย์ ศาสนา และความเชื่อ หมอเองเห็นว่าเป็นเรื่องที่มีหลายแง่มุมและความเห็นที่แตกต่างกันอยู่มากในสังคม จึงอยากขออนุญาตเสนอความคิดเห็นและทัศนคติผ่านมุมมองของอายุรแพทย์ชาวพุทธคนหนึ่งที่ต้องให้การรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายและผู้ป่วยสูงอายุอยู่เสมอครับ