ปรับพฤติกรรม ปกป้องหลอดเลือด

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ สูบบุหรี่ อ้วนพีมีพุง รวมทั้งผู้ที่เป็นหลอดเลือดแดงแข็ง ควรตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดในการดูแลตนเองให้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจัยเสี่ยงอย่างมีความสุข ห่างไกลจากอาการ โรคแทรกซ้อน และความพิการที่จะตามมา ซึ่งทำได้ด้วยการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างน้อย 5 อย่าง ได้แก่ กินให้ดี เดินให้เร็ว หายใจช้า สั่งลาพุง และมุ่งปรับพฤติกรรม

มะเร็งเต้านม ยิ่งเร็ว ยิ่งรอด

ประมาณร้อยละ 90 ของผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมมีสาเหตุจากการมารับการรักษาช้าเกินไปจนมะเร็งลุกลามไปมากแล้ว ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า “ไม่รู้ว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้น” ดังนั้นหากคลำได้ก้อนที่เต้านม มีเลือดออกที่หัวนม มีแผลหรือผื่นที่มีลักษณะผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณเต้านมให้รีบมาพบแพทย์ทันที

คำแนะนำสำหรับผู้ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ

คนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนมีเครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (pace maker) ติดตั้งอยู่ที่หน้าอกระดับกระดูกไหปลาร้า โดยเครื่องจะทำงานส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นหัวใจให้เต้นถูกจังหวะปกติ ทว่าเครื่องนี้อาจจะทำงานผิดปกติเมื่อเจ้าของไปอยู่ใกลเครื่องไฟฟ้าบางอย่าง

วัคซีนเอชไอวี…หมากสำคัญในการป้องกัน

ความพยายามในการหยุดยั้งการติดเชื้อเอชไอวีผ่านการวิจัยวัคซีนป้องกันเอชไอวีนี้มีมานานกว่า 20 ปีแล้ว การวิจัยได้ดำเนินการตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก สำหรับประเทศไทยได้เริ่มการวิจัยวัคซีนมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยมีการวิจัยในระยะที่ 1 และ 2 ในปี พ.ศ.2537 ถึงปี 2542 ในผู้ติดยาเสพติดที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี แต่ไม่ได้ผลในการป้องกัน

 ความสะอาดของช่องปากป้องกันมะเร็งคอได้

สิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดมะเร็งในคอส่วนหลังลิ้น (pharynx) คือ ไวรัสที่เรียกว่า human papillomavirus (HPV) มะเร็งชนิดนี้นับวันจะเป็นกันมากขึ้น สิ่งหนึ่งที่จะช่วยป้องกันได้คือ การรักษาความสะอาดของช่องปากให้ดี

เชื้อปอดบวม “ลีจิโอเนลลา” มากับน้ำ

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตือนว่าในฤดูฝนนี้ให้ประชาชนระมัดระวังน้ำจากฝักบัว สปา ก๊อกน้ำ เนื่องจากพบเชื้อแบคทีเรียก่อโรคปอดอักเสบมากที่สุด

8 เทคนิคแก้ปัญหาพฤติกรรมผู้ป่วยสมองเสื่อม

  โรคสมองเสื่อม (dementia) เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญในผู้สูงอายุ โดยพบความชุกได้ถึงร้อยละ 5-10 ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี อาการของโรคสมองเสื่อมนอกจากปัญหาเรื่องความจำแล้ว ปัญหาเรื่องพฤติกรรมและอาการทางจิตก็เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยและเป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้ญาติพาผู้ป่วยมาพบแพทย์ ปัญหาพฤติกรรมและอาการทางจิตที่พบได้บ่อยและมักสร้างความยากลำบากในการดูแลให้แก่ญาติมากที่สุด ได้แก่ พฤติกรรมก้าวร้าว อาการหลงผิด และอาการประสาทหลอน โดยที่อาการเหล่านี้พบได้มากถึงร้อยละ 30-40 ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม พฤติกรรมก้าวร้าว (aggression) หมายถึง การที่ผู้ป่วยแสดงความหงุดหงิดและมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง โดยอาจแสดงออกด้วยการต่อต้านการดูแลของญาติ ตะโกนเสียงดัง ด่าว่า ทำลายข้าวของ หรือทำร้ายร่างกายคนอื่น อาการหลงผิด (delusion) หมายถึง...

โภชนาการเกิน เพิ่มโรค

อาหาร คือ สิ่งที่มนุษย์กินเข้าไปแล้วเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอและทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ทำให้เกิดพลังงาน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาหารจึงจำเป็นต่อร่างกาย การกินอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งน้อยเกินไป หรือมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดโทษได้เหมือนกัน คนไทย…อ้วน!!! จากสถิติพบว่า ปัจจุบันคนไทยที่น้ำหนักเกินมีจำนวนมากถึงร้อยละ 35 หรือประมาณ 1 ใน 3 ของจำนวนประชากรทั้งหมด และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนพบว่า คนไทยอ้วนสูงสุดเป็นอันดับ 2 จากทั้งหมด 10...

เจ็บหน้าอกเพราะกินยา

เมื่อไม่นานมานี้มีคุณยายคนหนึ่งมาให้หมอตรวจ โดยบ่นว่าเจ็บหน้าอกบริเวณหัวใจ อาการเจ็บหน้าอกอย่างนี้ในคนวัย 60 ปีนับว่าเป็นเรื่องสำคัญเพราะอาจเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือดที่อาจทำให้ถึงแก่ความตายได้ถ้าไม่รักษาให้ทันท่วงที แต่อาการเจ็บหน้าอกเกิดขึ้นได้จากหลายโรค นอกจากโรคหัวใจขาดเลือดแล้วยังอาจเกิดอาการเจ็บจากผนังหน้าอกบาดเจ็บ การอักเสบของปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดใหญ่ในช่องอกโป่งพอง ถุงน้ำดีอักเสบ เป็นต้น การที่คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก บ่อยครั้งหมอจึงต้องทำการซักประวัติ ตรวจร่างกาย หรือตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติมจึงจะแยกโรคให้ชัดเจนได้ เมื่อซักประวัติได้ความว่าคุณยายเป็นหวัดแล้วไปให้หมอคลินิคตรวจและจ่ายยารักษา หลังจากกินยาได้ชั่วข้ามคืน รุ่งเช้าคุณยายก็รู้สึกเจ็บหน้าอกเพิ่มขึ้นมาอีกโรคหนึ่ง หลานสาวที่เคยอ่านเรื่องโรคหัวใจมาบ้างก็ตกอกตกใจ พาคุณยายไปให้หมอคลินิคตรวจซ้ำ หมอก็บอกให้มาโรงพยาบาลเพื่อตรวจหัวใจ คนไข้มาถึงโรงพยาบาลตอนกลางคืน หมอเวรห้องฉุกเฉินทำการตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นหัวใจ ฉายเอกซเรย์ปอดแล้วก็ยังไม่สามารถแยกโรคได้ชัด จึงได้ทำการส่งตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อดูว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีหรือไม่ ปรากฏว่าทุกอย่างที่ตรวจนั้นปกติหมด คือไม่มีโรคหัวใจ โรคปอด โรคถุงน้ำดี...

ฝนตก น้ำขัง ระวังฉี่หนู!

ฤดูฝนมาเยือนอีกครั้งยังความชุ่มฉ่ำไปทั่วทุกพื้นที่ บางคนชอบเพราะฝนมาพาให้สดชื่น แต่ก็มีไม่น้อยที่รู้สึกนอยด์กับความชื้นแฉะ ในแง่มุมด้านสุขภาพมีโรคมากมายที่มาพร้อมกับสายฝน ชวนให้ต้องเพิ่มความระมัดระวังกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่  ท้องร่วงเฉียบพลัน ตาแดง น้ำกัดเท้า และโรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งโรคที่ไม่ควรมองข้าม ได้แก่ “โรคเลปโตสไปโรซิส” หรือที่เราคุ้นหูกันในชื่อ “โรคฉี่หนู” นั่นเอง โรคนี้มีอันตรายมากน้อยแค่ไหน ป้องกันและรักษาได้อย่างไร HealthToday ฉบับนี้ได้รับเกียรติจาก อ.พญ.วิรงค์รอง เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดลมาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคฉี่หนู ที่ไม่ได้มีแค่หนูเท่านั้นที่เป็นตัวนำโรคอย่างที่หลายคนเข้าใจ ที่มาของ “โรคฉี่หนู” โรคฉี่หนู...