การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีของลูกน้อยด้วยจุลินทรีย์สุขภาพ

พญ.สุชีรา หงษ์สกุล

0
1661

ในช่วง 1,000 วันแรกของชีวิต ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงช่วงที่เป็นทารก ถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมาก ๆ ต่อสุขภาพของลูกน้อยในอนาคต การได้รับสารอาหารและจุลินทรีย์อย่างเหมาะสมทั้งคุณแม่และทารก ล้วนเป็นสิ่งที่จะส่งเสริมสุขภาพของเด็กเมื่อเติบโตขึ้น มีหลายปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสมดุลจุลินทรีย์ อาทิ1 การผ่าคลอด การต้องให้นมกระป๋องแทน นมแม่ หรือทารกต้องได้รับยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

มีการศึกษาพบว่าทารกที่คลอดผ่านวิธีผ่าคลอดจะมีจุลินทรีย์เชื้อดี อย่างเช่น แล็กโทบาซิลลัส ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ2 ผลที่ตามมาคือ ทารกมีโอกาสพัฒนาเป็นโรคภูมิแพ้ โรดหืด โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และโรคอ้วน ได้มากกว่าทารกที่คลอดด้วยวิธีธรรมชาติ1 อย่างไรก็ดี คุณหมอก็มีความจำเป็นที่จะต้องเลือกการคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดให้กับคุณแม่บางคน เนื่องจากความปลอดภัยในภาวะนั้น ๆ

ปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาเพื่อหาวิธีที่สามารถช่วยให้ทารกที่คลอดด้วยวิธีการผ่าคลอด สามารถกลับมามีจุลินทรีย์ดีสมดุลคล้ายกับทารกที่คลอดผ่านวิธีธรรมชาติให้มากที่สุด หนึ่งในนั้นคือ การให้ทารกรับประทานจุลินทรีย์สุขภาพ เช่น แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม17938 (Lactobacillus reuteri DSM17938) ซึ่งได้มีการศึกษาทางการแพทย์พบว่า สามารถปรับให้จุลินทรีย์ของทารกที่คลอดด้วยวิธีผ่าคลอดกลับมาสมดุลได้ เทียบเท่ากับการคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ3

ทารกน้อยสุขภาพดีด้วยโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม17938

มีการศึกษาทางการแพทย์ขนาดใหญ่ที่ประเทศอิตาลี ซึ่งทำการศึกษาในทารกแรกคลอดรวม 554 คน เพื่อดูผลของการรับประทานโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม17938 โดยให้รับประทานตั้งแต่วันแรกหลังคลอดและรับประทานติดต่อกันเป็นเวลา 90 วัน เทียบกับทารกที่รับประทานยาหลอก พบว่า ทารกกลุ่มที่รับประทานโพรไบ โอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม17938 มีการร้องกวนลดลง 47%*, การสำรอกนมลดลง 37%* และการขับถ่ายเพิ่มขึ้น 17%*

นอกจากนี้ยังพบว่า มีความคุ้มค่ามากกว่าเนื่องจากลดอัตราการป่วยและการเข้าโรงพยาบาล4 มีคำแนะนำจากแนวทางการรักษาของแพทย์ สมาคมแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารนานาชาติแนะนำให้ทารกรับประทานโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี ดีเอสเอ็ม17938 เพื่อป้องกันการร้องกวนโคลิค โดยแนะนำให้รับประทานปริมาณ 108 CFU ต่อวัน ตั้งแต่แรกคลอดจนถึงอายุ 3 เดือน (evidence level 1)5,*

** ผลการศึกษาที่ 3 เดือนหลังรับประทานโพรไบโอติก แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับประทานยาหลอก, แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01), ***Oxford Centre for Evidence-Based Medicine levels of evidence for treatment benefits relative to the question “Does this intervention help?” Evidence level 1: Study type Systematic review of randomized trials or n-of-1 trials.

เอกสารอ้างอิง

  1. Rodríguez JM, Murphy K, Stanton C, Ross RP, Kober OI, Juge N, Avershina E, Rudi K, Narbad A, Jenmalm MC, Marchesi JR. The composition of the gut microbiota throughout life, with an emphasis on early life. Microbial ecology in health and disease. 2015 Dec 1;26(1):26050.
  2. Reid G, Younes JA, Van der Mei HC, Gloor GB, Knight R, Busscher HJ. Microbiota restoration: natural and supplemented recovery of human microbial communities. Nature Reviews Microbiology. 2011 Jan;9(1):27-38.
  3. Rodenas CL, Lepage M, Ngom-Bru C, Fotiou A, Papagaroufalis K, Berger B. Effect of formula containing Lactobacillus reuteri DSM 17938 on fecal microbiota of infants born by cesarean-section. Journal of pediatric gastroenterology and nutrition. 2016 Dec 1;63(6):681-7.
  4. Indrio F, Di Mauro A, Riezzo G, Civardi E, Intini C, Corvaglia L, Ballardini E, Bisceglia M, Cinquetti M, Brazzoduro E, Del Vecchio A. Prophylactic use of a probiotic in the prevention of colic, regurgitation, and functional constipation: a randomized clinical trial. JAMA pediatrics. 2014 Mar 1;168(3):228-33.
  5. Guarner F, Ellen Sanders M, Eliakim R, Fedorak R, Gangl A, Garisch J, Kaufmann P. Karakan T. World gastroenterology organisation global guidelines: probiotics and prebiotics February 2017: 1-35.

THL2197092-2