แผลในใจ

แผลในใจ…มีจริง

เวลาเราได้ยินคนกรีดร้องอย่างเจ็บปวด แล้วพบว่าร่างของเขามีบาดแผลใหญ่เลือดไหลโชก เราคงพอจะเข้าใจความทรมานที่เขามีได้ไม่ยากนัก แต่หากสิ่งที่ใครคนนั้นกำลังทรมานอยู่ เป็นแผลภายในจิตใจที่มองตาเปล่าไม่เห็น เราคงไม่สามารถเข้าใจเสียงกรีดร้อง อารมณ์ที่สุดจะทน และพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อความเจ็บปวดของเขาได้ ว่าทำไมต้องทำเช่นนั้น
ภาวะกินเยอะผิดปกติ

ภาวะกินเยอะผิดปกติ (Binge eating disorder)

เวลาดูภาพยนตร์ต่างประเทศ หลายคนอาจจะเคยเห็นตัวละครบางคนที่เวลาเครียดมาก ๆ แล้วจะมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบสวาปามเข้าไปทีเดียวเยอะ ๆ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวหากเกิดขึ้นบ่อยและเป็นมาก จะถือว่าเป็นความผิดปกติของการกินชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า ภาวะกินเยอะผิดปกติ หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ‘binge eating disorder’
ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย

ผิดไหมที่ไม่บอก

ผมเดินผ่านระเบียงตึกคนไข้มะเร็งครั้งใดก็จะนึกถึงคนไข้รายหนึ่ง ซึ่งที่จริงก็เป็นเรื่องที่ผ่านมาเป็นสิบปีแล้ว คนไข้ รายนี้จัดว่าเป็นเคสที่เป็นครูในประสบการณ์การเป็นแพทย์ของผม และถือว่าได้เป็นครูให้กับลูกศิษย์ผมหลาย ๆ รุ่นเพราะผมก็มักหยิบเคสนี้มาประกอบการสอนเกือบทุกรอบเมื่อคุยเรื่องการสื่อสารกับผู้ป่วยและญาติ
การแกล้งกันในโรงเรียน

การรังแกในโรงเรียน

มีรายงานที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าการรังแกและการกลั่นแกล้ง (bullying) ในโรงเรียนเป็นกระบวนการทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นเรื่องส่วนตัวของนักเรียน จากสถิติที่รายงานล่าสุดเมื่อปี 2017 พบว่าร้อยละ 80 ของการรังแกและกลั่นแกล้งมีประจักษ์พยาน และร้อยละ 57 ของนักเรียนเคยเป็นประจักษ์พยานของการรังแกแต่ไม่ทำอะไร
สีทาภายในบ้าน

สีช่วยได้

การเลือก "สีทาภายในบ้าน" ไม่ว่าจะเป็นห้องรับแขก ห้องนอน ห้องครัว สีแต่ละสีนั้นมีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก สุขภาพจิต สุขภาพใจ และสุขภาพกายของผู้อยู่อาศัยมาก ๆ เลยค่ะ ฉบับนี้ดิฉันมีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ มาแนะนำเกี่ยวกับเรื่องการเลือกใช้โทนสีให้เหมาะกับการใช้งานในห้องนั้น ๆ มาฝากค่ะ โดยทั่วไปโทนสีที่นิยมใช้ทาจะแบ่งออกเป็นโทนหลัก ๆ คือ สีโทนร้อน หรือสีสดเข้ม ได้แก่ สีแดง ส้ม ชมพู เหลืองสด จะเป็นสีที่ทำให้เกิดความรู้สึกมีพลัง เร่าร้อน ผจญภัย...
ลูกโตขึ้น

ลูกหาย

เสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ วันที่เด็ก ๆ ได้มีกิจกรรมกับครอบครัว โดยเฉพาะได้ไปเที่ยวงานวันเด็กกับพ่อแม่ ยกเว้นเด็กที่โตแล้ว อาจมีกิจกรรมที่ทางโรงเรียนจัดทั้งในและนอกสถานที่โดยไม่มีพ่อแม่ไปด้วย คงเป็นภาพที่พ่อแม่ทุกคนสัมผัสได้ตั้งแต่วันที่ลูกเป็นทารก ลูกอยู่ในสายตาตลอดเวลา จนถึงวันที่ลูกโตขึ้นเรื่อย ๆ ห่างจากสายตาพ่อแม่ จนถึงวันที่เขาไปเริ่มใช้ชีวิตตามลำพัง นาน ๆ จะได้กลับมาร่วมกิจกรรมครอบครัวกัน
Phantom limb

แขน-ขาลวง (Phantom Limb)

อาการ phantom limb คือการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่า แขน ขา (หรืออวัยวะอื่นใดก็ได้) ที่ถูกตัดออกไปแล้วยังคงอยู่ สามารถรับรู้ ขยับ หรือเจ็บปวดก็ได้ โดยปรากฏการณ์นี้ถูกบันทึกไว้ครั้งแรกประมาณ 400 ปีมาแล้ว (ช่วงปลายของ ค.ศ.1500) และถูกตั้งชื่อว่า phantom limb โดยศัลแพทย์ชื่อ Silas Weir Mitchell ในช่วงปลายของ ค.ศ. 1800 หลังจากนั้นปรากฏการณ์นี้ก็เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเรื่อย ๆ
ผู้สูงอายุแข็งแรง

แข็งแรง อายุยืนยาว

ปัจจุบันคนอายุยืนมากขึ้น อาจจะด้วยการดูแลสุขภาพและการแพทย์ที่ก้าวหน้า ทำให้ค่าเฉลี่ยอายุของประชากรเกือบทุกประเทศยืนยาวขึ้น แม้แต่อายุสมองก็น่าจะยืนยาวขึ้นด้วย เพราะคนที่เกียษณอายุแล้วก็ยังคงทำงานในด้านต่าง ๆ ที่ใช้ความรู้ความสามารถของตนเองอย่างต่อเนื่อง
นิทานก่อนนอน

นิทานก่อนนอน

การอ่านหนังสือวันละ 15 นาทีให้ลูกฟังก่อนนอนเป็นกิจกรรมที่ง่ายมากในการประกันว่าพ่อแม่จะได้อยู่ใกล้ลูกแน่ ๆ อย่างน้อยก็ทุกวัน วันละ 15 นาที ได้เห็นหน้า ได้ยินเสียง ได้แตะเนื้อต้องตัว และมีปฏิสัมพันธ์ ทำให้เด็กเล็กสามารถสร้างพ่อแม่ที่มีอยู่จริงขึ้นมา สร้างสายสัมพันธ์กับพ่อแม่ และสร้างตัวตน (self) ที่แข็งแรงมากในที่สุด ตัวตนคือรากฐานของพัฒนาการอีกหลาย ๆ เรื่องในอนาคต
ภาวะโซมาติก, Somatic symptoms disorder

ภาวะโซมาติก (Somatic symptoms disorder)

Somatic symptoms disorder* จัดเป็นความผิดปกติอย่างหนึ่งทางจิตเวชตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวชฉบับที่ 5 (DSM-5) โดยเป็นความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับร่างกายและจิตใจ อาการสำคัญของภาวะนี้คือผู้ป่วยจะมีความหมกมุ่นหรือกังวลอย่างมากกับอาการเจ็บป่วยทางกายจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต