การดับทุกข์ของแผ่นดินที่เกิดจาก PM2.5 ด้วยตนเอง

ผศ. นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ อดีตหัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

0
1482
มลพิษทางอากาศ

วิธีการ 3 ข้อ ที่แนะนำให้ดูแลตนเอง เพื่อแก้ปัญหามลพิษในอากาศ PM2.5 ตามคำแนะนำขององค์กรระดับโลกและระดับชาติ ได้แก่

  1. ลดการเข้าสู่ร่างกาย ลดการสัมผัสมลพิษในอากาศ ในวันที่ค่า PM2.5 สูงเกินมาตรฐาน (วันที่เมืองเปื้อนฝุ่น) เช่น ใส่หน้ากาก, กันอากาศภายนอกบ้านเข้าในบ้าน, เครื่องกรองอากาศ, ไม่สร้างฝุ่นในบ้าน
  2. ลดการอักเสบ ความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดจาก PM2.5 ที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น กินอาหารผัก และธัญชาติไม่ขัดสีที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหารมาก หรือ ไม่ออกกำลังกาย วิ่ง กลางแจ้งในวันที่เมืองเปื้อนฝุ่น
  3. ลดการสร้างฝุ่น ในท้องถนน ในที่ทำงาน ในบ้าน เช่น การใช้ขนส่งมวลชนแทนขับรถยนต์คนละคันในวันทำงาน ลดหรืองดการใช้รถยนต์ในวันหยุด หรือ หลีกเลี่ยงการกินอาหารริมถนนเวลากลางคืน หรือ ปลูกต้นสนเพื่อช่วยดูดซับฝุ่น เป็นต้น

วิธีการทั้ง 3 ข้อข้างต้นอาจไม่เพียงพอในการดูแลตนเองให้พ้นภัยมลพิษในอากาศ PM2.5 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เพราะ…

1. ค่าเฉลี่ยทั้งปีของระดับ PM2.5 ในเมือง เช่น กทม. ประมาณ 24 มคก./ลบม. ขึ้นไป ในการป้องกันการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ระดับ PM2.5 ที่สูงเกิน 0 มคก./ลบม. ก็ถือว่าเสี่ยงต่อการตายดังกล่าวแล้ว1 ดังนั้นการดูแลตนเองเฉพาะเวลาวันเมืองเปื้อนฝุ่นอาจไม่เพียงพอในการป้องกันภัยจากมลพิษในอากาศระยะยาว แล้วเราควรใช้ชีวิตอย่างไร?

2. การที่ไม่ได้ใส่หน้ากากกันฝุ่นหรือเปิดเครื่องฟอกอากาศตลอดเวลา แม้เราจะไม่มีอาการอะไร แต่ปริมาณฝุ่นที่เราหายใจอยู่ทุกลมหายใจก็เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหรือความผิดปกติในร่างกายได้2 แล้วเราควรหายใจอย่างไร? 

3. คนในเมืองยังกินอาหารริมถนนเวลากลางคืน ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการรับมลพิษในอากาศเข้าสู่ร่างกายทั้งทางจมูกและปาก โดยเฉพาะในวันที่ค่าพีเอ็มไม่เกินมาตรฐานแล้วเราควรกินอาหารอย่างไร? 

4. นอกจาก PM2.5 แล้ว มลพิษในอากาศยังมีฝุ่นจิ๋วที่เล็กลงไปอีก (nanoparticle) และโมเลกุลโลหะหนักที่ก่อโรค เช่น แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู ปรอท เป็นต้น4 ซึ่งหน้ากาก เครื่องฟอกอากาศ ไม่สามารถป้องกันสารในฝุ่นพิษเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายได้ แล้วเราจะขับสารเหล่านี้ออกจากร่างกายได้อย่างไร? 

คำตอบของคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ องค์ความรู้ตะวันตกแบบฝรั่งในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่พิสูจน์แสดงผลแน่ชัดว่าควรแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร ดังนั้น พุทธบริษัทสี่ ผู้มีศรัทธา เลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า (โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ให้เห็นชัดแบบองค์ความรู้แบบตะวันตก) เชื่อมั่นในธรรมวินัย ที่รู้ได้เฉพาะตัว พิสูจน์ได้ด้วยตนเองโดยไม่จำกัดเวลา ก็คงต้องมาศึกษาดูว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า (จากพระไตรปิฎก) สามารถตอบคำถามทั้ง 4 ข้อนี้ได้อย่างไร

ทางปฏิบัติเพื่อความมีโรคน้อย (จากมลพิษในอากาศ PM2.5)
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้แก่

  1. อานาปานสติสมาธิ การหายใจอย่างมีสติช่วยลดการเข้าสู่ร่างกาย ลดการสัมผัส PM2.5 ในวันเมืองเปื้อนฝุ่น นอกจากนี้ อานาปานสติ ยังช่วยลดความไม่สบายทางกาย เช่น แสบตา คันคอ ซึ่งเกิดจากการหายใจเอาฝุ่นพิษในอากาศเข้าไป
  2. อาหารย่อยง่าย ช่วยลดการอักเสบ ความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ที่เกิดจาก PM2.5
  3. เว้นกินกลางคืน (โดยเฉพาะอาหารริมถนน) ช่วยลดโอกาสเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ลดโอกาสความผิดปกติที่เกิดจาก PM2.5
  4. กินวันละ 2 มื้อ ช่วยลดการทำอาหารสร้างฝุ่นไป 1  ใน 3 (one or two meal a day) เพื่อลดการสร้างฝุ่นพิษในท้องถนน ในบ้าน
  5. เดินจงกรม ไม่วิ่งกลางแจ้งในวันเมืองเปื้อนฝุ่น
  6. เรือนไฟ (ซาวนาแห้งที่บ้าน) ช่วยขับสารปนเปื้อนใน PM2.5 ออกจากร่างกาย เพื่อลดการอักเสบ ความผิดปกติที่เกิดจาก PM2.5 นอกจากนี้ การเดินจงกรมและเรือนไฟในบ้าน ช่วยลดโอกาสเกิดโรคจากฝุ่นพิษได้ไม่แพ้การวิ่งนอกบ้าน

ข้อมูลอ้างอิง

  1. J Am Coll Cardiol 2018;72:2054
  2. Trend Cardiovasc Med 2018;28:112,k
  3. Aerosol Air Quality Res 2017;17:2235
  4. Environment Toxicol Pharmacol 2018;60:195

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

อ่านรายละเอียดวิธีปฎิบัติเพื่อความมีโรคน้อย 

อานาปานสติสมาธิ (โปรดติดตาม) อาหารย่อยง่าย (คลิกเพื่ออ่าน)เว้นกินกลางคืน (คลิกเพื่ออ่าน)กินวันละ 2 มื้อ (คลิกเพื่ออ่าน)เดินจงกรม (คลิกเพื่ออ่าน)เรือนไฟ (คลิกเพื่ออ่าน)