โทษของน้ำตาลเทียมต่อสมอง

นพ.คมน์สิทธิ์ เดชะรินทร์ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท

0
5137
น้ำตาลเทียม
น้ำตาลเทียม

ในปัจจุบันความนิยมในการรักษาสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารพลังงานต่ำและอาหารคลีนหรืออาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในนักกีฬาและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก รวมถึงผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น ผู้ที่มีสุขภาพดีที่ชื่นชอบรสหวานหลายคนหันมาใช้น้ำตาลเทียมซึ่งเป็นวัตถุให้ความหวานทดแทนน้ำตาลมาปรุงอาหาร สารชนิดนี้เป็นกลุ่มของวัตถุหรือสารที่มีรสหวานมาก สามารถใช้ปรุงอาหารแทนน้ำตาลได้ ในปัจจุบันมีที่ใช้อย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักดี เช่น แอสปาร์แตม แซกคารีน หญ้าหวาน ซอร์บิทอล เป็นต้น ซึ่งน้ำตาลเทียมที่จำหน่ายกันอยู่ในท้องตลาดมากที่สุดจะมีส่วนประกอบเป็นสารที่ให้ความหวานเรียกว่า
แอสปาร์แตม (
Aspartame) มาผสมกับน้ำตาลแล็กโทสและสารซิลิคอนไดออกไซด์ ซึ่งสาร 2 ตัวหลังจะทำหน้าที่ช่วยในการทำให้ผลิตภัณฑ์คงรูปอยู่ในลักษณะเป็นผง

ผู้บริโภคหลายคนยังไม่ทราบว่าน้ำตาลเทียมได้แฝงอันตรายเอาไว้มากมายและส่งผลต่อร่างกาย ได้แก่

น้ำตาลเทียม
  • สารก่อมะเร็ง เนื่องจากแอสปาร์แตมประกอบไปด้วยสารเคมีจำนวน 3 ชนิด คือ กรดแอสปาร์ติก ฟีนิลอะลานีน และเมธานอล ซึ่งหากร่างกายได้รับสารเคมีเหล่านี้เป็นจำนวนมากเกินไปจะไม่สามารถกำจัดออกไปจากร่างกายได้หมด สุดท้ายอาจสะสมและเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อจนทำให้ดีเอ็นเอภายในร่างกายเกิดความเสียหาย และอาจพัฒนาจนกลายเป็นความผิดปกติในระดับเซลล์ และก่อมะเร็งได้ในที่สุด
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดได้บ่อยจากการใช้แอสปาร์แตมเป็นน้ำตาลเทียม เพราะสารนี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายจึงถูกส่งผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะช่วยย่อยแอสปาร์แตมได้ แต่จะผลิตก๊าซออกมาจำนวนมาก ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อและถ่ายผิดปกติ
  • เป็นสารที่อันตรายในสัตว์ทดลอง งานวิจัยหลายชิ้นได้เผยแพร่ถึงอันตรายที่สัตว์ทดลองได้รับหลังใช้แอสปาร์แตม ไม่ว่าจะเป็นอาการข้างเคียง เช่น ชักเกร็ง หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตเมื่อได้รับติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน

นอกจากนี้แอสปาร์แตมยังส่งผลร้ายแรงต่อสมองและระบบฮอร์โมนในร่างกาย ดังนี้

  • ทำให้เกิดโรคอ้วนและโรคเบาหวาน แม้ว่าการใช้น้ำตาลเทียมแทนน้ำตาลแบบปกติดูผิวเผินแล้วจะช่วยให้ผู้บริโภคห่างไกลจากโรคอ้วนและเบาหวานได้ แต่แท้จริงแล้วน้ำตาลเทียมที่เข้าสู่ร่างกายจะไปรบกวนระบบฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินสูงขึ้นผิดปกติ รวมไปถึงการทำให้ผู้บริโภคเสพติดรสหวานมากขึ้น หิวง่ายและบ่อย ทำให้รับประทานอาหารเพิ่มขึ้นจากปกติกว่าร้อยละ 30 และใช้ชีวิตประจำวันด้วยการรับประทานหวานทุกมื้อ ส่งผลให้กลายเป็นโรคอ้วนและเบาหวานได้ในที่สุด

งานวิจัยที่ผ่านมาโดย Meghan Azad นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Manitoba ประเทศแคนาดา ได้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสารให้ความหวานแทนน้ำตาลภายใต้การศึกษาจากอาสาสมัครกว่า 400,000 คน ในช่วงเวลา 10 ปีที่
ผ่านมา ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่บริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นประจำกลับอ้วนขึ้น
มีน้ำหนักตัวมากกว่าเดิม และมีรอบเอวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งพบความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วนลงพุง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

  • อันตรายต่อสมอง กรดแอสปาร์ติกซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งในน้ำตาลเทียมสามารถดูดซึมและแพร่เข้าสู่สมองได้ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับอันตราย เช่น กระตุ้นให้เกิดอาการชัก หรือแม้กระทั่งสะสมเป็นจำนวนมากพอที่จะกระตุ้นให้เกิดสารของเสียในสมองจนทำให้เกิดโรคความจำเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์รวมไปถึงกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของปลอกหุ้มปลายประสาทอีกด้วย

รู้อย่างนี้แล้วการเลิกติดหวานคงเป็นทางออกที่ดีที่สุดของการรักษาสุขภาพที่แท้จริง

 

ที่มา: HealthToday Magazine, No.220 August 2019