ดีท็อกซ์

อาหารดีท็อกซ์ลำไส้

ปกติร่างกายของเรามีความสามารถในการล้างพิษเองอยู่แล้ว โดยสารพิษต่าง ๆ จะถูกขับออกในรูปอุจจาระ ปัสสาวะ เหงื่อ หรือแม้แต่ทางลมหายใจ แต่ในยุคที่มีการปนเปื้อนสารเคมีในสภาพแวดล้อมและอาหารสูงเช่นนี้ จึงมีกระแสนิยมเรื่องการล้างพิษเกิดขึ้นจำนวนมาก
กินดีอยู่ดี

กินดีอยู่ดี: เลี่ยงอาหารมีสารเจือปนและสารปนเปื้อน

ผู้บริโภคในประเทศที่ยึดเทคโนโลยีเป็นสำคัญจำต้องกินอาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรมบ่อยครั้งขึ้นในแต่ละสัปดาห์ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่า อาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นต้องมีสารเจือปนในอาหาร (additives) ช่วยในการผลิต และอาจมีสารปนเปื้อนในอาหาร (contaminants) เป็นของแถมได้
อาหารบำบัด

อาหารบำบัดไทรอยด์เป็นพิษ

ปกติแล้วไทรอยด์เป็นพิษสามารถรักษาให้หายได้ โดยแพทย์มักเริ่มการรักษาด้วยการให้ยา หากไม่ได้ผลก็จะใช้การรักษาด้วยรังสีไอโอดีน หรือผ่าตัด ในระหว่างที่ทำการรักษา ผู้ป่วยควรดื่มน้ำ พักผ่อนให้เพียงพอ และปรับพฤติกรรมอาหารเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ด้วย แต่หากผู้ป่วยละเลยการรักษาก็อาจจะสร้างปัญหาร้ายแรงต่อหัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ รวมถึงการเจริญพันธุ์
สารกันบูด

กินดีอยู่ดี: เลี่ยงการใช้สารกันบูด

ทำไมผู้ผลิตจึงต้องใส่สารกันบูดในอาหาร คำตอบแบบหล่อ ๆ ง่าย ๆ คือ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนในระหว่างการผลิต เก็บ และขนส่งอาหาร ดังนั้นการป้องกันการเจริญของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุนั้นจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งไม่บังควรแก้ปัญหาด้วยสารกันบูด แม้ว่าต้องการลดต้นทุนการผลิตในการเก็บรักษาและขนส่ง
กรดไหลย้อน

อาหารบำบัดกรดไหลย้อน

ข้อมูลจากสมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย พบว่า ปัจจุบันมีคนไทยทุกเพศทุกวัยป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน 9.2% ส่วนใหญ่พบในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในผู้ที่มีอายุมากขึ้น ที่สำคัญคือพบว่าคนวัยทำงานก็ประสบปัญหากรดไหลย้อนสูงขึ้นด้วย การรักษานอกจากรับประทานยาลดกรดและการผ่าตัดแล้ว การปรับพฤติกรรมแก้กรดไหลย้อนก็ช่วยได้มากทีเดียว
เชื้อราในอาหาร

กินดีอยู่ดี: อาหารต้องไม่มีรา

อาหารที่เก็บไว้กินได้นานควรถูกจัดเก็บในสภาวะที่ราขึ้นไม่ได้ ทั้งนี้เพราะราหลายชนิดสามารถสร้างสารพิษ (mycotoxin) ชนิดที่ทนความร้อนได้สุด ๆ ออกมาปนเปื้อนในอาหาร มีการตรวจวิเคราะห์พบชนิดของสารพิษกลุ่มนี้แล้วถึง 300 กว่าชนิด
ดื่มน้ำ

ดื่มน้ำอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

คำถามหนึ่งที่หมอมักจะดีใจเมื่อถูกถามก็คือ “เราจะดื่มน้ำอย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ” ความเข้าใจเรื่องการดื่มน้ำของเรามักถูกสอนกันต่อ ๆ มาว่า “ดื่มน้ำมาก ๆ สิดี ยิ่งดื่มมากยิ่งดีต่อร่างกาย เรื่องแบบนี้ไม่เห็นต้องไปถามหมอให้เสียเวลาเลย” แต่ในความเป็นจริงก็คือ การดื่มน้ำนั้นเป็นเรื่องดีต่อสุขภาพก็จริง แต่ต้องใส่วงเล็บไว้ด้วยนะครับว่า ดื่มอย่างพอเหมาะกับสภาพร่างกายของคนคนนั้น
Albumin

โปรตีนสารอาหารจำเป็นต่อร่างกาย

โปรตีนเป็นสารที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย นอกจากนี้ยังให้พลังงานและทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาต่าง ๆ ภายในร่างกาย โปรตีนจัดว่าเป็นองค์ประกอบหลักภายในร่างกายของมนุษย์ โดยมีมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ และสามารถพบได้ในทุก ๆ เซลล์รวมถึงในกระแสเลือด
ผงชูรส

มันสำปะหลัง วัตถุดิบหลักในการผลิตผงชูรส

เมื่อพูดถึง ผงชูรส หนึ่งในเครื่องปรุงรสอูมามิ ที่นิยมใช้เพิ่ม “รสอร่อยกลมกล่อม” ในอาหารคู่ครัวทั่วโลกนั้น หลายคนอาจสงสัยว่าผลึกผงชูรสสีขาว ๆ นี้ ผลิตมาจากอะไร และมีขั้นตอนการผลิตอย่างไร
อาหารเค็ม

กินดีอยู่ดี: ลดอาหารเค็ม

การที่ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณสูงนั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะไตเสื่อม เนื่องจากไตซึ่งเป็นอวัยวะที่กรองของเสียและน้ำออกนอกร่างกายต้องทำงานหนักขึ้น เมื่อมีโซเดียมในร่างกายสูง การเสื่อมสภาพของไตจึงเร็วกว่าที่ควร นำไปสู่อาการความดันโลหิตสูงรวมถึงเบาหวาน และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดเนื่องจากหัวใจทำงานหนักขึ้น และสุดท้ายอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการสมองเสื่อมก่อนวัย