Friday, May 17, 2024
ผู้สูงอายุมักมีโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกและกล้ามเนื้อซึ่งมากับพร้อมกับอายุที่มากขึ้น ได้แก่ กระดูกบาง กระดูกพรุน มวลกล้ามเนื้อน้อย และข้อเสื่อม การศึกษาปัจจุบันพบว่ากระดูกและกล้ามเนื้อนั้นมีส่วนส่งเสริมซึ่งกันและกัน จึงพบว่าผู้ที่กระดูกพรุนหรือกระดูกบางจะมีมวลกล้ามเนื้อที่น้อยลงเช่นกัน ทำให้เกิดอุบัติเหตุ เช่น การหกล้มและกระดูกหักได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องดูแลทั้งกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงควบคู่กันไป เหตุใดผู้สูงอายุจึงมีกระดูกบาง ร่างกายของมนุษย์มีทั้งระบบการสร้างและการสลายกระดูก โดยปกติแล้วทั้งสองกระบวนการนี้ต้องมีความสมดุลกัน แต่ในความเป็นจริงการสร้างและการทำลายนั้นจะแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ ผู้ที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไปจะมีการสร้างกระดูกน้อยกว่าการสลายกระดูก ปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งเสริมการสลายกระดูก ได้แก่ สภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต โรคบางชนิด หรือภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะหมดประจำเดือน  นอกจากนี้เพศสภาพก็มีความเกี่ยวข้องกับสภาวะดังกล่าวเช่นกัน โดยพบว่าเพศหญิงอาจมีปัญหาทางกระดูกและกล้ามเนื้อมากกว่าเพศชายเนื่องจากมีทั้งภาวะบางและกระดูกพรุน ในขณะที่เพศชายอาจพบเพียงกระดูกบางเท่านั้น การป้องกันโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำได้โดย ลดปัจจัยเสี่ยงในการทำลายกระดูก เช่น เหล้า บุหรี่ ปัจจัยเหล่านี้กระตุ้นการทำลายกระดูกได้ อีกหนึ่งปัจจัยที่พบบ่อย ได้แก่ การบริโภคคาเฟอีนที่มากกว่า...
พระพุทธเจ้าสอนให้เราไม่กินอาหารเวลากลางคืน (หลังพระอาทิตย์ตก) จะมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย มีโรคน้อย มีแรงทำงานได้ กระปรี้กระเปร่า และอยู่เป็นสุข
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกและองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติพบว่า ในปี ค.ศ. 2020 ที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อัตราการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก (DPT vaccine) ลดลงเหลือ 83% ทำให้เด็กขาดโอกาสในการรับวัคซีนพื้นฐานที่ควรได้มากขึ้นกว่า 3.7 ล้านรายทั่วโลก เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2019
แป้งเด็กเป็นหนึ่งในของชิ้นแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่เลือกซื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าใครเวลาคิดถึงทารกตัวอ้วนจ้ำม่ำก็ต้องนึกถึงตอนอาบน้ำเสร็จใหม่ ๆ ประแป้งฝุ่นหอมฟุ้ง แต่ทราบหรือไม่ว่าแป้งเด็กที่คุณพ่อคุณแม่กำลังใช้อยู่นั้นอาจไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อย   ในปัจจุบัน นอกจากความร้อน ความอับชื้น และเชื้อโรคใหม่ ๆ สารพัดชนิดที่ทำอันตรายต่อผิวบอบบางของเด็กแล้ว ยังมีฝุ่นและมลภาวะในอากาศที่พร้อมสร้างความเสียหายต่อปอดและทางเดินหายใจของทารก แน่นอนว่าเรื่องนี้สร้างความกังวลต่อทั้งผู้ปกครองและกุมารแพทย์จำนวนมาก สาเหตุหนึ่งของฝุ่นที่ใกล้ตัวลูกน้อยก็คือแป้งเด็กนั่นเอง   จากกรณีการปนเปื้อนของแร่ใยหินซึ่งเป็นสารอันตรายที่พบได้บ่อยในบริเวณที่มีการทำเหมืองทัลคัมลงไปในแป้งเด็กและเครื่องสำอางหลายชนิด ก่อให้เกิดความตื่นตัวในเรื่องสารสังเคราะห์ที่เป็นวัตถุดิบการผลิตแป้งและผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเป็นอย่างมาก   นอกจากแร่ใยหินจะถูกคัดกรองออกจากแป้งเด็กอย่างเข้มงวดแล้ว สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกายังแนะนำให้เลิกใช้แป้งเด็กที่มีส่วนผสมของทัลค์หรือทัลคัมซึ่งย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก และมีความเสี่ยงสูงที่จะปนเปื้อนแร่ใยหินตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 เนื่องจากพบว่าแม้กระทั่งทัลค์บริสุทธิ์ก็ตกค้างในทางเดินหายใจของเด็กและสร้างความระคายเคือง นำไปสู่ภาวะหลอดลมไวเกินและโรคทางเดินหายใจหลายชนิดหากสะสมเป็นเวลานาน หลักฐานงานวิจัยจำนวนมากบ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้แป้งเด็กที่มีส่วนประกอบของทัลค์ในบริเวณผ้าอ้อมกับความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งรังไข่ เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น ข้อเท็จจริงนี้นำไปสู่คำสั่งให้เก็บแป้งที่มีส่วนผสมของทัลค์และทัลคัมออกจากร้านค้าทั่วสหรัฐอเมริกาในเวลาต่อมา   แล้วแป้งเด็กแบบไหนเหมาะสำหรับเด็ก? สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำให้ใช้แป้งที่มีส่วนผสมจากพืช เช่น แป้งจากข้าว เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่มีคุณสมบัติย่อยสลายเองได้ ทั้งยังอ่อนโยนต่อผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ และไม่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งในอนาคต นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ยังแนะนำวิธีทาแป้งเด็กอย่างถูกต้อง โดยโรยลงบนฝ่ามือของผู้ปกครองก่อนจะลูบเป็นชั้นบาง ๆ บนผิวเพื่อสร้างชั้นป้องกันความอับชื้นและกักเก็บความชุ่มชื้นตามธรรมชาติของผิวเด็ก...
ในปี พ.ศ. 2566 นี้ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ได้เผยแพร่ตารางแนะนำการให้วัคซีนในเด็กไทย แบ่งเป็นวัคซีนจำเป็นที่ต้องให้แก่เด็กทุกคน และวัคซีนทางเลือกที่อาจให้เสริมหรือทดแทน มีคำแนะนำให้วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-โปลิโอชนิดฉีด-ฮิบ เป็นหนึ่งในวัคซีนทางเลือก โดยฉีดได้ที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน1   วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์คืออะไร? ปัจจุบันวัคซีนไอกรนในประเทศไทยมีทั้งชนิดไร้เซลล์ (acellular) และชนิดทั้งเซลล์ (whole cell) โดยวัคซีนไอกรนชนิดทั้งเซลล์มักทำให้เกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด บางครั้งอาจมีอาการบวม แดง ไข้ และหนาวสั่นร่วมด้วย จึงมีการพัฒนาวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์ ซึ่งเป็นวัคซีนที่ทำจากบางส่วนของเชื้อแบคทีเรียเพื่อลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไม่ต่างกัน2 สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยแนะนำว่า วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน สามารถใช้ชนิดไร้เซลล์ (acellular) แทนชนิดทั้งเซลล์ (whole cell) ได้ทุกครั้ง1   “วัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลล์เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ดี และช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนชนิดทั้งเซลล์ แนะนำให้เริ่มฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ...
สภาพอากาศ ณ ปัจจุบัน ทั้งพายุเข้า ฝนตก และใกล้ฤดูหนาวเข้ามาเรื่อย ๆ ทำให้ลูกน้อยไม่สบาย และเป็นหวัดง่าย โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจชนิดเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว เช่น โรคจมูกอักเสบ (acute rhinitis) หรือที่มักเรียกว่า "โรคหวัด" ทำให้ลูกน้อยมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดหรือมึนศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล (ใส ขุ่น หรือเหลืองเขียว) รวมถึงไอ   สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคหวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ rhinovirus, infuenza, parainfuenza และ adenovirus ซึ่งส่วนใหญ่เด็ก ๆ มักจะหายได้เองภายใน 7–10 วัน โดยไม่ต้องรับประทานยาต้านจุลชีพ หากคุณพ่อคุณแม่ช่วยดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสม   การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ...
ผิวเด็กนั้นต่างจากผิวของผู้ใหญ่ เนื่องจากผิวหนังของเด็กตั้งแต่ทารกจนอายุราว 10 ปี จะยังมีผิวชั้นนอกบาง มีความชุ่มชื้นสูงแต่สูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายเช่นกัน เกราะป้องกันผิวของเด็ก ๆ อ่อนแอง่ายต่อการระคายเคืองจากสิ่งรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่ชื้นหรือแห้งเกินไป สารเคมีตกค้าง เส้นใยสังเคราะห์ในผ้าอ้อมหรือเสื้อผ้า แมลงสัตว์กัดต่อยต่าง ๆ และปัจจุบันยังมีเชื้อโรค แสงแดด และมลพิษที่พร้อมทำร้ายผิวของเด็ก ๆ ได้ตลอดเวลา   ปัญหาผื่นผิวหนังเป็นหนึ่งในอาการหลักที่ทำให้เด็ก ๆ ต้องพบกุมารแพทย์ ในประเทศเขตร้อน เช่น ประเทศไทย ปัญหาผิวหนังในเด็กกว่าครึ่งเกิดจากการติดเชื้อและการอักเสบของผิวชั้นนอก ซึ่งมักไม่ร้ายแรงและหายได้ด้วยการดูแลอย่างถูกต้อง อาทิเช่น การรักษาความสะอาดด้วยสารทำความสะอาดที่อ่อนโยน การเพิ่มความชุ่มชื้นและเสริมเกราะป้องกันผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเลือกใช้ยาทาภายนอกที่มีสารต้านการอักเสบที่ไม่เป็นอันตรายต่อผิวของเด็กจะมีส่วนช่วยให้ผดผื่นหายเร็วขึ้น   แต่ในบางกรณี ผื่นผิวหนังอาจบ่งบอกถึงโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ถ้าเด็ก ๆ มีผื่นผิวหนังร่วมกับจุดจ้ำเลือดตามร่างกาย แสบร้อนหรือปวดบริเวณผื่นหรือตามข้อ มีไข้ ตาแดง อ่อนเพลีย กินได้น้อย...
ท้องผูกเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็ก โดยพบมากถึงร้อยละ 0.5-3.2 ในเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่แรกเริ่ม ถึงแม้ว่าอาการท้องผูกในเด็กส่วนมากจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพทางกาย และร้อยละ 90 ของผู้ป่วยไม่มีสาเหตุจากโรคทางกาย แต่อาการท้องผูกสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ทั้งในด้านสังคม อารมณ์ และการเรียนได้ และหากเป็นเรื้อรังโดยไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจทำให้การรักษายากขึ้นและเกิดผลกระทบต่อเด็กในระยะยาว    ทางการแพทย์นิยามท้องผูกว่าเป็นอาการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ กล่าวคือ ถ่ายห่างมากหรือถ่ายยากผิดปกติเป็นเวลานานตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และก่อให้เกิดผลกระทบต่อเด็ก โดยอาการแสดงของท้องผูกในเด็กที่พบได้บ่อย เช่น ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 2 ครั้งใน 1 สัปดาห์ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนใหญ่ แข็ง หรือถ่ายอุจจาระแล้วเจ็บ อุจจาระเล็ดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือมีพฤติกรรมกลั้นอุจจาระ    การวินิจฉัยท้องผูกไร้โรคทางกายนั้น แพทย์จะต้องซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียดเพื่อหาสัญญาณเตือนก่อน หากการซักประวัติและตรวจร่างกายไม่พบสัญญาณเตือน แพทย์จึงจะให้การวินิจฉัยและพิจารณาให้การรักษาโดยสรุป  แนวทางในการรักษาหลักดังนี้  การใช้ยา ...
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเหงือกและฟัน อาจมีเชื้อโรคเข้ากระแสเลือดไปกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูก มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ซึ่งทารกที่คลอดก่อนกำหนดจะมีน้ำหนักน้อยกว่าทารกทั่วไป จึงอยากชวนคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มาดูแลสุขภาพช่องปากกันเถอะ    🪥 แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน  🦷 ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดซอกฟัน  ⚕️ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ  🥗 ทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผักผลไม้    เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่และลูก  #สุขภาพช่องปาก #หญิงตั้งครรภ์ #ทารก #แม่และเด็ก    New Parents Magazine เล่มใหม่ล่าสุด❗6th Edition 2023/2024  สารพันเรื่องน่ารู้ คู่มือเตรียมความพร้อมสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ 👨‍👩‍👧   เพื่อลูกน้อยแข็งแรง ปลอดภัย  📕📩 อ่านและดาวน์โหลด E-Magazine ฟรี! ได้ที่ https://bit.ly/NewParents2023-2024      เอกสารอ้างอิง  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข: https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/210365-2/  คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล: https://www.youtube.com/watch?v=gbARYnOACGE  
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) เป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติในการแบ่งเซลล์ของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมาทั้งแท่งหรือบางส่วน ส่งผลต่อพัฒนาการและลักษณะทางกายภาพ รักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่การดูแลและรักษาอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี   ประชาชนยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับดาวน์ซินโดรมอยู่หลายประการ เนื่องในวันที่ 21 มีนาคม เป็นวันดาวน์ซินโดรมโลก จึงอยากส่งเสริมให้ทุกคนเข้าใจและอยู่ร่วมกับผู้ป่วยดังนี้  ดาวน์ซินโดรมไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม  ผู้ป่วยจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กทั่วไป แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญญาอ่อน เพียงแต่ต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างเหมาะสม  ถึงจะมีลักษณะเฉพาะ แต่ก็มีความคล้ายคลึงเหมือนคนในครอบครัว เช่นเดียวกับคนทั่วไป  ผู้ป่วยสามารถเรียนหนังสือ ทำงาน ใช้ชีวิตในสังคม และมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้   ทั้งนี้ การตรวจคัดกรองก่อนคลอด จะช่วยให้ทราบความเสี่ยงของทารกในครรภ์ โดยหญิงตั้งครรภ์ทุกคนสามารถรับบริการตรวจดาวน์ซินโดรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทุกแห่ง  โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สปสช.1330 ให้บริการตลอด 24 ชม.    ร่วมสร้างสังคมที่เปิดกว้าง ยอมรับ และให้โอกาสผู้ป่วยดาวน์ซินโดรม  #ดาวน์ซินโดรม #WorldDownSyndromeDay #inclusion #acceptance...

Recent Posts

pornplaybb.com siteripdownload.com macromastiavideo.com